...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2567
หน้า: 126-137
ประเภท: บทความวิจัย
View: 60
Download: 217
Download PDF
การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะภาษาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้ CIPP Model
The Evaluation of Bachelor of Arts Program in English Curriculum at Faculty of Linguistics and Humanities, Savannakhet University, Lao People’s Democratic Republic, Using CIPP Model
ผู้แต่ง
ปาดถะหนา อินทะพูทอน, ธนานันต์ กุลไพบุตร และพจมาน ชำนาญกิจ
Author
Pathana Inthaphouthone, Thananun Kunpaibutr and Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต และหาแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 386 คน ประกอบด้วยอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 24 คน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2567 จำนวน 130 คน บัณฑิตที่จบการศึกษา จำนวน 116 คน ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 116 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะภาษาศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้ CIPP Model ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบท (Context) พบว่า อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา และบัณฑิต ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 3.93, S.D. = 0.24) 2. ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) พบว่า อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา และบัณฑิต ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (= 3.32, S.D. = 0.41) 3. ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา และบัณฑิต ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 3.53, S.D. = 0.44) 4. ด้านผลผลิต (Product) พบว่า อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (= 4.07, S.D. = 0.25) 5. แนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 1) ด้านบริบท ปรับปรุงวัตถุประสงค์เนื้อหารายวิชาของหลักสูตร เน้นทักษะการสื่อสาร กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ปรับปรุงทักษะการสื่อสาร เทคนิคการสอน นำใช้เทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นความสนใจในการเรียน มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ และมีงบประมาณพัฒนาอาจารย์ผู้สอน งบประมาณส่งเสริมสื่อการเรียนการสอน 3) ด้านกระบวนการ เพิ่มการร่วมมือภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง มีการประเมินผลที่หลากหลายรูปแบบอย่างสม่ำเสมอ และแจ้งให้นักศึกษารับรู้เพื่อปรับปรุง และ 4) ด้านผลผลิต เพิ่มทักษะความเป็นผู้นำ จิตสาธารณะ กิจกรรมการเรียนรู้ให้หลากหลายตามสถานการณ์จริงเพื่อการประกอบอาชีพเป็นหลัก เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ ปรับปรุงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การทำงานเป็นทีม และเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยี

Abstract

The purposes of this research were to evaluate the Context, Input, Process, and Product of the Bachelor of Arts Program in English curriculum at the Faculty of Linguistics and Humanities, Savannakhet University, using CIPP Model, and to establish guidelines for curriculum improvement. The sample, obtained through stratified random sampling, consisted of 386 participants, including 24 curriculum lecturers, 130 students currently studying in the academic year 2024, 116 graduated students, and 116 employers. The instrument for data collection was a set of 5-rating scale questionnaires to evaluate the Bachelor of Arts Program in English curriculum at Faculty of Linguistics and Humanities, Savannakhet University in Lao PDR, using CIPP Model comprising Context, Input, Process and Product. Statistics for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: 1. Context: Participants assessed the overall appropriateness of the Bachelor of Arts Program in English curriculum at a high level (  = 3.93, S.D. = 0.24). 2. Input: Participants rated the overall appropriateness of the Bachelor of Arts Program in English curriculum as moderate (  = 3.32, S.D. = 0.41). 3. Process: Participants evaluated the overall appropriateness of the Bachelor of Arts Program in English curriculum at a high level (  = 3.53, S.D. = 0.44). 4. Product: Participants rated the overall quality of the Bachelor of Arts Program in English curriculum at a high level (  = 4.07, S.D. = 0.25). 5. The guidelines for improving the Bachelor of Arts Program in English revealed as follows: 1) Context: Improve the course content objectives by emphasizing communication skills, and incorporating a variety of learning activities both within and outside the curriculum; 2) Input: Improve communication skills and teaching techniques, integrate technology to stimulate interest in learning, and provide adequate facilities and budget allocation for teacher professional development and teaching media; 3) Process: Strengthen external cooperation both domestically and internationally, focus on practical training in actual settings, implement regular and varied evaluation methods, and inform students on areas for self-improvement; 4) Product: Develop leadership skills, public-mindedness, offer diverse learning activities based on real-world situations to prepare students for their careers, enhance problem-solving, analytical and creative skills, and advance interpersonal skills, teamwork and technology use and skills.

คำสำคัญ

การประเมินหลักสูตร, หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, CIPP Model

Keyword

Curriculum Evaluation, Bachelor of Arts Program in English, CIPP Model
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 534

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,523

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033