...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2567
หน้า: 107-116
ประเภท: บทความวิจัย
View: 45
Download: 19
Download PDF
การพัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
Development of Creative Arts Activities Based on Guilford's Cognitive Structure Theory to Enhance Creative Thinking of Kindergarten 3 Students
ผู้แต่ง
ลลิตา สร้อยมาลัย, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์ และพจมาน ชำนาญกิจ
Author
Lalita soimalai, Vijittra Vonganusith and Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการเรียนด้วยกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนห้วยทรายวิทยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 2) แบบวัดความคิดสร้างสร้างสรรค์ (The Test for Creative Thinking Drawing Production: TCT-DP) และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) งานวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 เท่ากับ 86.39/86.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ หลังจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.79, S.D. = 0.42)

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop creative arts activities based on Guilford's cognitive structure theory to enhance the creative thinking of Kindergarten 3 students to achieve an efficiency of 80/80, 2) compare students’ creative thinking before and after learning through the developed creative arts activities, and 3) examine the students’ satisfaction with the developed creative arts activities. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of 14 Kindergarten 3 students at Huay Sai Witthaya School, in the first semester of the 2023 academic year. The research instruments included 1) lesson plans, 2) the Test for Creative Thinking-Drawing Production (TCT-DP), and 3) a satisfaction form. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The efficiency of the creative arts activities based on Guilford's cognitive structure theory to enhance the creative thinking of Kindergarten 3 students achieved 86.39/86.90, which was higher than the set criteria of 80/80. 2. The students’ creative thinking after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 3. The students’ satisfaction with the developed creative arts activities was overall at a high level (= 2.79, S.D. = 0.42).

คำสำคัญ

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์, ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด, ความคิดสร้างสรรค์

Keyword

Creative Arts activities, Guilford's cognitive structure theory, Creative thinking
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 754

จำนวนครั้งการเข้าชม: 934,976

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033