บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช 2) ศึกษาความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านขัวไม้แก่น (มหิดลอนุสรณ์ 3) จำนวน 12 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมสแครช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการเขียนโปรแกรมสแครช และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยปรับประยุกต์จากซิมพ์ซัน ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ดังนี้ (1) S : Situation สถานการณ์เพื่อการรับรู้ (2) C : Criticalness คิดวิเคราะห์วางแผน (3) R : Response ลองผิด ลองถูก (4) A : Action ลงมือทำ (5) T : Training ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (6) C : Construct สร้างองค์ความรู้ และ (7) H : How to use นำไปใช้สร้างสิ่งใหม่ โดยภาพรวมทั้ง 12 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากโดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.00/80.00 2) ผลการศึกษาความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช หลังได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการเขียนโปรแกรมสแครช ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถการเขียนโปรแกรมสแครช ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop active learning activities to enhance the students’ programming ability using Scratch, 2) to examine the students’ programming ability using Scratch after the intervention, 3) to compare the students’ learning achievement before and after the intervention, and 4) to investigate the students’ satisfaction toward the developed active learning activities. The sample group, obtained through cluster random sampling, consisted of 12 students at Ban Khuamaikaen (Mahidol Anusorn 3) School in the first semester of the 2023 academic year. The research instruments included 1) 12 lesson plans on the unit of Scratch Programming based on an active learning approach, 2) a test assessing programming ability in Scratch, 3) an achievement learning test, and 4) a satisfaction questionnaire. Statistics were mean, standard deviation, percentage, and Dependent Sample t-test. The research findings were as follows: 1. The development of active learning activities followed Simpson’s seven-level learning process consisting of 1) S: Situation, 2) C: Criticalness, 3) R: Response, 4) A: Action, 5) T: Training, 6) C: Construction, and 7) H: How to Create Innovation. Overall, the 12 lesson plans were evaluated for their appropriateness at a high level, with an average rating of 4.45 and a standard deviation of 0.53. The effectiveness (E1/E2) was 80.00/80.00. 2. The students’ programming ability in the Scratch program after the intervention was higher than the specified criterion of 70 percent. 3. The student’s learning achievement after the intervention was significantly higher than that before the intervention at the .05 level of significance. 4. The students’ satisfaction with the developed active learning activities was overall at the highest level, with a mean score of 4.51 and a standard deviation of 0.49.
คำสำคัญ
กิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถในการเขียนโปรแกรม, โปรแกรมสแครชKeyword
Active Learning Activities, Scratch Programming Ability, Scratch Programกำลังออนไลน์: 21
วันนี้: 523
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,512
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033