...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2567
หน้า: 63-71
ประเภท: บทความวิจัย
View: 54
Download: 221
Download PDF
การพัฒนาโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโดยใช้แนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร
Development of Course Structure for a Healthy Food Course for Mathayomsuksa 1 Students at Satrisamutprakan School Using Food Literacy Concepts
ผู้แต่ง
นันทรัตน์ ทัศเกิด และอรปวีณ์ กุลพรเพ็ญ
Author
Nantarat Thadkerd and Onpawee Koonpornpen

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโดยใช้แนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร และ 2) ศึกษาคุณภาพของโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโดยใช้แนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ โดยมีค่า IOC เท่ากับ 1.00 ซึ่งข้อมูลที่ได้นั้น มาจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้านคหกรรมศาสตร์และความฉลาดรู้ทางอาหาร จำนวน 3 ท่าน เพื่ออธิบายถึงความเหมาะสมของการพัฒนาโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโดยใช้แนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสมุทรปราการโดยใช้แนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร จำนวน 1 หน่วยกิต 40 ชั่วโมง และ 13 ผลการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ อาหารนั้นสำคัญอย่างไร วัตถุดิบปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ กินดีมีประโยชน์ กินป้องกันโรค และประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ตามลำดับ และ 2) ผลการศึกษาคุณภาพของโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่าโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพในส่วนคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการประเมินในส่วนของหัวข้อชื่อรายวิชามีความเหมาะสม รวมถึงชื่อรายวิชาและคำอธิบายรายวิชามีความสอดคล้องกัน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 5.00 ส่วนในหัวข้อเนื้อหารายวิชาสอดแทรกแนวคิดความฉลาดรู้ทางอาหาร รวมถึงเนื้อหาสาระสอดคล้องกับเวลามีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.33 นอกจากนี้ผลการประเมินคุณภาพโครงสร้างรายวิชาอาหารเพื่อสุขภาพทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้นั้น พบว่า หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กินป้องกันโรค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 รองลงมาคือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 กินดีมีประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อาหารนั้นสำคัญอย่างไร และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วัตถุดิบปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดที่ 4.19 ตามลำดับ

Abstract

This descriptive research aimed to 1) develop a course structure for a healthy food course for Mathayomsuksa 1 students at Satrisamutprakan School, utilizing food literacy concepts; and 2) evaluate the quality of the course structure for a healthy food course for Mathayomsuksa 1 students at Satrisamutprakan School using food literacy concepts. The research instruments included 1) a 35 item, 5-point rating scale assessment form to measure the quality of the course structure, with an IOC value of 1.00. Three professionals in home economics and food literacy were consulted to evaluate the appropriateness of the developed course structure for the healthy food course based on food literacy concepts for Mathayomsuksa 1 students at Satrisamutprakan School. The data were analyzed using mean and standard deviation. The findings were as follows: 1) The course structure for the healthy food course based on food literacy concepts for Mathayomsuksa 1 students at Satrisamutprakan School consisted of one credit, 40 hours, and 13 learning outcomes, with five learning units: The Importance of Food, Hygienic Handling of Raw Materials, Benefits of Healthy Eating, How Eating Healthily Prevents Illness, and Preparing Healthy Meals, respectively; and 2) After evaluating the quality of the course structure for the healthy food course, both the course description and the course structure received an average rating of 4.66, indicating the highest level of appropriateness. The assessment revealed that the course title was appropriate. Both the course title and description achieved the highest quality level of 5.00. The course content, integrated with food literacy concepts, aligned with the course schedule, receiving a high-quality rating with the lowest average of 4.33. In addition, the quality assessment of the course structure for the healthy food course across all five learning units revealed the following: Learning Unit 4, “Eating Healthily Prevents Illness” had the average value of 4.42, followed by Learning Unit 3, “Benefits of Healthily Eating”, with an average of 4.33. Learning Units 1, “The Importance of Food”, and 2, “Hygienic Handling of Raw Materials”, received the lowest mean value of 4.19, each.

คำสำคัญ

ความฉลาดรู้ทางอาหาร, คหกรรมศาสตร์, โครงสร้างรายวิชา

Keyword

Food Literacy, Home Economics, Course Structure
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 22

วันนี้: 522

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,511

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033