...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2567
หน้า: 11-21
ประเภท: บทความวิจัย
View: 32
Download: 17
Download PDF
กระบวนการคิดเชิงออกแบบพัฒนาหลักสูตรวิทยาการคำนวณ พาคิด-พาทำ-สนุกสุดปังกับ Coding รูปแบบ Unplugged สำหรับครูต้นแบบชั้นประถมศึกษาตอนปลายยุคดิจิทัล
The Design Thinking Process to Develop a Computational Science Curriculum, Pha Khid-Pha Tham-Sanuk Sud Pang Kab Unplugged Coding for Model Teachers at Upper Primary Levels in the Digital Age
ผู้แต่ง
พัชรินทร์ เศรษฐีชัยชนะ
Author
Patcharin Setteechaichana

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรวิทยาการคำนวณ พาคิด-พาทำ-สนุกสุดปังกับ Coding รูปแบบ Unplugged เพื่อวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ และเพื่อวัดและประเมินผลทักษะการคิดเชิงวิพากษ์จากการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จำนวน 60 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว การออกแบบงานวิจัยเป็นแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรวิทยาการคำนวณ พาคิด-พาทำ-สนุกสุดปังกับ Coding รูปแบบ Unplugged 2) แบบประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 2 ฉบับ และ 3) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ 1 ฉบับ เวลาที่ใช้ในการทดลองหลักสูตรรวม 40 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมทั้งหลักสูตรวิทยาการคำนวณ พาคิด-พาทำ-สนุกสุดปังกับ Coding รูปแบบ Unplugged มีประสิทธิภาพเท่ากับ 96.76/93.03 ภาพรวมระยะที่ 1 ครูที่เข้ารับการอบรมมีร้อยละของคะแนนเฉี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้หลังการอบรมเท่ากับ 92.06 ซึ่งสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาพรวมระยะที่ 2 ครูที่เข้ารับการอบรมมีร้อยละของคะแนนเฉี่ยผลลัพธ์การเรียนรู้หลังการอบรมเท่ากับ 94.01 ซึ่งสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูที่เข้ารับการอบรมมีร้อยละของคะแนนเฉี่ยทักษะการคิดเชิงวิพากษ์หลังการอบรมเท่ากับ 81.76 ซึ่งสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This research aimed to develop and validate the effectiveness of the Computational Science Curriculum, titled Pha Khid-Pha Tham-Sanuk Sud Pang Kab Unplugged Coding, in measuring and evaluating learning outcomes and critical thinking skills after the intervention. The sample consisted of 60 science and mathematics teachers in the first semester of the academic year 2022 under the Office of the Basic Education Commission in Pathum Thani and Sa Kaew Provinces. A Research and Development approach was employed, utilizing the following research tools: 1) the developed Computational Science Curriculum, 2) two forms of learning outcomes assessment, and 3) a critical thinking skills assessment form. The total experimental time was 40 hours. The results revealed that the overall effectiveness of the Computational Science Curriculum, titled Pha Khid-Pha Tham-Sanuk Sud Pang Kab Unplugged Coding was equal to 96.76/93.03. In the first phase, overall, teachers participating in the training demonstrated an average post-training learning outcomes score of 92.06 percent, which was higher than the pre-training score at the .05 level of significance. In the second phase, overall, the average post-training learning outcomes score was 94.01 percent, which was also higher than the pre-training score at the .05 level of significance. The teachers’ critical thinking skills after the training improved to 81.76 percent, showing a significant increase compared to the pre-training score at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การคิดเชิงออกแบบ, หลักสูตรวิทยาการคำนวณ, Coding รูปแบบ Unplugged

Keyword

Design Thinking, Computational Science Curriculum, Unplugged Coding
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 747

จำนวนครั้งการเข้าชม: 934,966

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033