บทคัดย่อ
มุมมองของครูที่มีต่อการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อการสร้างและส่งเสริมประสบการณ์รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านดิจิทัลของนักเรียน เตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับโลกแห่งอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันที่ท้าทายในทุกมิติชีวิต บทความวิจัยนี้จึงมุ่ง 1) เปรียบเทียบมุมมองเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ของครูที่มีช่วงอายุแตกต่างกัน และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของมุมมองของครูที่มีต่อการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 จำนวน 58 คน เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยแบบสำรวจมุมมองของครูที่มีต่อการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองในรูปแบบออนไลน์ โดยตรวจสอบความเชื่อถือได้จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องภายในชุดเดียวกันด้วยวิธีการแบ่งครึ่ง (Split-half method) แสดงค่า Cronbach’s alpha ของความสอดคล้องของคำตอบของเท่ากับ .708 และ .795 ตามลำดับ และค่าคะแนนรวมของความสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามเท่ากับ .602 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVAX และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ช่วงอายุของครูที่ต่างกัน 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มช่วงอายุ 22–30 ปี กลุ่มช่วงอายุ 31–40 ปี และกลุ่มช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป มีผลทำให้มุมมองของครูเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างน้อย 1 คู่ โดยที่คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคู่เดียว คือ ครูที่มีช่วงอายุ 22–30 ปี กับครูที่มีช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป และ 2) มุมมองของครูสามารถพยากรณ์การนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ร้อยละ 23.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ว่า Y = 0.704 X + 1.465 โดยที่ X คือมุมมองของครู Y คือการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน แสดงให้เห็นว่าครูที่มีมุมมองเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะนำอุปกรณ์มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนสูงขึ้น
Abstract
The perspectives of teachers with the integration of electronic devices into classroom learning activities are crucial for enhancing students’ learning experiences, and digital skills for navigating the challenges of the electronic world, which impacts all dimensions of life. This research paper aimed to 1) compare the perspectives of teachers across different age groups regarding the use of electronic devices in organizing classroom learning activities, and 2) analyze the causal relationship between teachers' perspectives toward the utilization of electronic devices in organizing classroom learning activities. The sample consisted of 58 teachers from science learning areas at Mathayomsuksa 1-6 levels. A survey questionnaire was distributed to assess teachers’ perspectives on the use of electronic devices for managing classroom learning activities. The reliability of the survey questionnaire was confirmed through a Split-Half Method, showing Cronbach's Alpha values of .708 and .795, and a total correlation score of .602. Statistics for data collection included frequencies, percentages, standard deviation, One-Way ANOVA, and simple regression analysis. The research findings indicated that 1) The average perspectives of teachers across the three age groups, 22 to 30, 31 to 40, and 41 and above, did not differ significantly at the .05 level of significance. However, there was at least one pair of age groups where the perspectives of teachers differed significantly at the .05 level of significance. Specifically, the age group combination that showed a significant difference was between teachers aged 22-30 and those aged 41 and above, and 2) Teachers' perspectives were able to predict the utilization of electronic devices for managing classroom learning activities, with a mean increase of .238 at the .05 level of statistical significance. The predictive equation could be written as Y = 0.704 X + 1.465, with X representing teachers’ perspectives, and Y representing the utilization of electronic devices for managing classroom learning activities, Results indicated that teachers’ perspectives improved, motivating them to utilize electronic devices for managing classroom learning activities.
คำสำคัญ
มุมมองของครู, การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในกิจกรรมการเรียนรู้, การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุKeyword
Perspective of Teachers, Ntegration of Electronic Devices for Classroom Learning Activities, Causal Relationship Analysisกำลังออนไลน์: 20
วันนี้: 498
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,487
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033