บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ข้อสอบ ในแบบทดสอบรูปแบบผสม ระหว่างวิธี LRT วิธี LOR Z และ วิธี HGLM และเพื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) ในแบบทดสอบรูปแบบผสม จำแนกตามเพศ ระหว่างวิธี LRT วิธี LOR Z และ วิธี HGLM ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนของประเทศไทยที่มีช่วงอายุ 15 ปี 3 เดือน จนถึง 16 ปี 2 เดือน จำนวน 8,249 คน ที่เข้าร่วมสอบข้อสอบ PISA กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ชุดของแบบทดสอบเป็นหน่วยการสุ่ม โดยทำการสุ่มนักเรียนที่ทำแบบทดสอบวิชาละ 1 ฉบับ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 644 คน โดยใช้คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ PISA 2015 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IRT PRO โปรแกรม DIFAS และโปรแกรม HLM
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบทั้ง 3 รายวิชา ได้แก่ การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) ด้วยวิธี LRT และวิธี HGLM มีความสัมพันธ์กันทางบวก ส่วนวิธี LOR Z สัมพันธ์ทางลบกับวิธี LRT และวิธี HGLM อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ (DIF) ทั้ง 3 รายวิชา ได้แก่ การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และการรู้เรื่องการอ่าน (Reading Literacy) ระหว่างวิธี LRT วิธี LOR Z และวิธี HGLM จำแนกตามเพศ พบว่า วิธี LOR Z ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบมากที่สุด จำนวน 15 ข้อ รองลงมาวิธี HGLM ตรวจพบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ จำนวน 5 ข้อ และวิธี LRT ไม่พบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare the results of parameter estimation of ability parameters for mixed-format tests using LRT, LOR Z and HGLM methods, and 2) compare the result analysis of differential item functioning for mixed-format tests using LRT, LOR Z and HGLM methods, classified by gender. The samples were 644 Thai students drawn from the population of 8,249 students, aged 15 years 3 months to 16 years 2 months, who completed the 2015 Program for International Student Assessment. The samples were obtained through simple random sampling, using a test as a random unit, by selected the students who taking the tests for one subject. The data analysis was done through IRT PRO, DIFAS, and HLM programs.
The findings were as follows:
1. The analysis results of compared estimation of the difficulty parameters of all three subjects concerning Scientific Literacy, Mathematical Literacy and Reading Literacy through the use of LRT and HGLM methods showed positive relationships, where as the LOR Z method had a negative relationship with LRT and HGLM methods at a statiscal significant level of 0.01.
2. The results of the examination of the differential item functioning (DIF) in all three subjects: Scientific Literacy, Mathematical Literacy and Reading Literacy using the LRT, LOR Z and HGLM methods, classified by gender, revealed the LOR Z method found DIF in 15 items, followed by the HGLM method, with five items, whereas the LRT method did not find DIF.
คำสำคัญ
การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ, แบบทดสอบรูปแบบผสมKeyword
Differential Item Functioning, Mixed-Format Testsกำลังออนไลน์: 29
วันนี้: 689
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,424
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033