...
...
เผยแพร่: 10 ม.ค. 2562
หน้า: 65-74
ประเภท: บทความวิจัย
View: 415
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Development of Problem Solving Ability Using Inquiry Cycle (5Es) and the Philosophy of Sufficiency Economy Entitled “Life and the Environment” in Science Learning Strand for Prathom Suksa 6
ผู้แต่ง
วิลาสินี ยืนยง, พิทักษ์ วงษ์ชาลี, อนันต์ ปานศุภวัชร
Author
Wilasinee Yuenyong, Pitak Wongchalee, Anun Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองเอี่ยนดง “ราษฎร์สงเคราะห์” ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที t-test ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.20/88.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this study were 1) to develop the lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy for Prathom Suksa 6 to contain their efficiency of 75/75, 2) to compare Prathom Suksa 6 students’ problem solving abilities gained before and after using lesson plans Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy, 3) to compare Prathom Suksa 6 students’ learning achievements possessed before and after using lesson plans Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy, and 4) to investigate Prathom Suksa 6 students’ satisfaction of learning through the lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy. The subjects were 15 Prathom Suksa 6 students who were studying in the second semester of 2016 academic year at Ban Nong-ien Dong “Rajsongkroh” School. They were selected by cluster random sampling technique. The instruments included lesson plans, solving problem ability test, learning achievement test, and the questionnaire to survey the students’ satisfaction of the constructed lesson plans. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The study revealed the following results:

1. The lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy for Prathom Suksa 6 contained their efficiency of 77.20/88.79 which was higher than the set criteria of 75/75.

2. After learning through the lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy, Prathom Suksa 6students’ problem solving ability was significantly higher than that of before at .01 statistical level.

3. After learning through the lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy, Prathom Suksa 6 students’ learning achievement was significantly higher than that of before at .01 statistical level.

4. Prathom Suksa 6 students’ satisfaction of learning through the lesson plans using Inquiry Cycles (5Es) and the principles of Sufficiency Economy Philosophy was at a high level.

คำสำคัญ

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ความสามารถในการแก้ปัญหา

Keyword

Inquiry Cycles (5Es), Sufficiency Economy Philosophy, problem solving ability
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 15

วันนี้: 939

เมื่อวานนี้: 1,300

จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,974

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033