...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 219-229
ประเภท: บทความวิจัย
View: 255
Download: 218
Download PDF
การเสริมสร้างศักยภาพการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการนิเทศแบบสาขา
Potential Enhancement in School Curriculum Evaluation Using Branch Supervision Method
ผู้แต่ง
ไอลดา คล้ายสำริด
Author
Ilada Klaysamrid

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเองโดยใช้วิธีการนิเทศแบบสาขา ดังนี้ (1) ศักยภาพในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาประกอบด้วย (1.1) ความรู้ความเข้าใจในเอกสารหลักสูตร การใช้หลักสูตร และสัมฤทธิผลของหลักสูตร (1.2) เจตคติต่อการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา (1.3) ความสามารถในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา (2) ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบสาขา และ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาระหว่างวิทยากรประจำสถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากร 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 วิทยากรประจำสถานศึกษาที่เป็นสาขาการนิเทศ จำนวน 27 คน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ บุคลากรในสถานศึกษาที่เป็นสาขา การนิเทศ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา จำนวน 382 คน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2565 ที่ได้รับการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เครื่องมือทดลอง คือ วิธีการนิเทศแบบสาขาที่มีหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเองเป็นเครื่องมือนิเทศ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา (2) แบบวัดเจตคติ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 สำหรับวิทยากรประจำสถานศึกษา ฉบับที่ 2 สำหรับบุคลากรในสถานศึกษา (3) แบบประเมินความสามารถในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา และ (4) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบสาขา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย F-test (One–way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ศักยภาพในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเองในด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และความสามารถในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาของวิทยากรประจำสถานศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาเป้าหมายในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด 2. ความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบสาขามีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 70.71 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบศักยภาพในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเองในด้านความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และความสามารถในการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาของวิทยากรประจำสถานศึกษา และบุคลากรในสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

Abstract

The purposes of this research were to 1) examine the operational performance on the potential enhancement in evaluating the school curriculum through the branch supervision method regarding (1) the potential for evaluating the school curriculum, including (1.1) knowledge and understanding of the school curriculum, its implementation, and achievement; (1.2) attitudes toward the school curriculum evaluation; (1.3) ability to assess the school curriculum, and (2) satisfaction toward the branch supervision method, and 2) to compare the potential differences on the school curriculum evaluation between school supervision trainers and school personnel. The samples, obtained through stratified random sampling, were divided into two groups. The initial group consisted of 27 school supervision trainers, while the second group comprised 382 school personnel, including school administrators, and teachers in the 2023 academic year. Research instruments comprised 1) an experimental instrument that included the branch supervision method integrated into the training program to enhance the potential in school curriculum evaluation; 2) the data collection instruments included (1) a test for measuring knowledge and understanding about school curriculum evaluation, (2) an attitude assessment form for school supervision trainers, and school personnel, (3) a form for assessing the ability in the school curriculum evaluation, and (4) a satisfaction form toward the branch supervision method. The data were analyzed in mean, standard deviation, and F-test (One-Way ANOVA). The results of this study were as follows: 1. The potential in the school curriculum evaluation of school supervision trainers and school personnel both as a whole and in each aspect, across various dimensions, namely knowledge and understanding, attitude, and ability, was observed to be at a high level, and the highest level, respectively. 2. Satisfaction with the branch supervision method was achieved at the highest level (\bar{x} % = 70.71). 3. The comparative findings on the potential of school trainers and school personnel in evaluating the school curriculum concerning knowledge and understanding, attitude, and ability, both as a whole and in each aspect, revealed no differences at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การเสริมสร้างศักยภาพ, การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาด้วยตนเอง, วิธีการนิเทศแบบสาขา

Keyword

Potential Enhancement, School Curriculum Evaluation, Branch Supervision Method
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 20

วันนี้: 732

เมื่อวานนี้: 873

จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,721

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033