...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 210-218
ประเภท: บทความวิจัย
View: 360
Download: 111
Download PDF
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน และรูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการเรียนรู้ในวิชาชีพ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
Development of a Learning Management Model Based on Creativity-Based Learning and CIPPA Model to Develop Professional Learning Competencies and Learning Achievement of Student Teachers, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง
ปัณฑิตา อินทรักษา
Author
Pundita Intharaksa

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดสร้างสรรค์เป็นฐานและรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการเรียนรู้ในวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาครูต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ที่เรียนในรายวิชาหลักสูตรและวิทยาการจัดการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดสมรรถนะทางการเรียนรู้ในวิชาชีพ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดสร้างสรรค์เป็นฐานและรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการเรียนรู้ในวิชาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู ประกอบด้วย ลำดับขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) ขั้นการทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) ขั้นการลงมือปฏิบัติ 5) ขั้นการจัดระเบียบความรู้ 6) ขั้นการสรุปองค์ความรู้ 7) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ และ 8) ขั้นการแสดงผลงาน โดยทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้มีการนำการคิดสร้างสรรค์มาประกอบการจัดการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ได้แก่ 1) การคิดริเริ่ม 2) การคิดคล่องแคล่ว 3) การคิดยืดหยุ่น และ 4) การคิดละเอียดลออ 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1 นักศึกษาครูมีสมรรถนะทางการเรียนรู้ในวิชาชีพ หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักศึกษาครูต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การคิดสร้างสรรค์เป็นฐานและรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา อยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.52, S.D. = 0.47)

Abstract

The purposes of this experimental research were to 1. develop the learning management model based on the creativity-based learning and CIPPA model to develop students’ professional learning competency and learning achievement, 2. examine the effects after the implementation of the developed learning management model, and 3. explore the student teachers’ satisfaction with the developed learning management model. The sample group, obtained through purposive sampling, consisted of 30 student teachers from the Faculty of Education at Sakon Nakhon Rajabhat University, who enrolled in the Curriculum and Learning Methodology course in the second semester of the academic year 2020. The research tools included 1) lesson plans, 2) a professional learning competency test, 3) a learning achievement test, and 4) a satisfaction questionnaire. Statistics for data analysis were mean (\bar{x}), standard deviation (S.D.), and t-test for Dependent Samples. The research findings were as follows: 1. The learning management model based on creativity-based learning and CIPPA model was implemented to develop student teachers’ professional learning competency and learning achievement, with the steps in the developed learning management process consisting of 1) prior knowledge activation, 2) new knowledge seeking, 3) knowledge exchange, 4) implementation, 5) knowledge organization, 6) summary of the body of knowledge, 7) knowledge application, and 8) student work exhibition. The learning management model was developed by integrating creativity into all its steps, comprising 1) Originality, 2) Fluency, 3) Flexibility, and 4) Elaboration. 2. The effects after the intervention revealed that: 2.1 The student teachers’ professional learning competency after the intervention was higher than that before the intervention at the .05 level of significance. 2.2 The student teachers’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .05 level of significance. 3. The student teachers’ satisfaction with the developed learning management model was at the highest level (\bar{x}= 4.52, S.D. = 0.47).

คำสำคัญ

การคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน, โมเดลซิปปา, สมรรถนะทางการเรียนรู้

Keyword

Creativity-Based Learning, CIPPA Model, Professional Learning Competency
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 685

จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,749

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033