บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตร ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2) เปรียบเทียบความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามระหว่างก่อนอบรมและหลังอบรม 3) เปรียบเทียบทักษะในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) พัฒนาหลักสูตร 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภาคปกติ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม แบบวัดทักษะการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ชนิด Dependent samples t-test และชนิด One sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 81.25/84.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75 2. นักศึกษามีความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ทักษะการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.56)
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop and examine the efficiency of a training course on ornamental fish aquaculture to meet the defined criteria of 75/75, 2) to compare students’ knowledge of ornamental fish aquaculture before and after the intervention, 3) to compare students’ skills performing ornamental fish aquaculture with the 75 percent criterion, and 4) to explore student satisfaction toward the developed training curriculum. The research process comprised four steps: 1) examining the fundamental data, 2) developing the training curriculum, 3) implementing the developed training curriculum, and 4) evaluating the training curriculum. The sample, obtained through purposive sampling, consisted of 20 undergraduate students enrolled in the first semester of the academic year 2021 at Sakon Nakhon Rajabhat University.The research instruments included a training curriculum on ornamental fish aquaculture, a test of knowledge in ornamental fish aquaculture, 3) a skills assessment test in ornamental fish aquaculture, and 4) a satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, dependent samples t-test, and one sample t-test. The findings were as follows: 1. The developed training curriculum achieved the efficiency of 81.25 /84.75, which was higher than the set criteria of 75/75. 2. The students’ knowledge of ornamental fish aquaculture after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 3. The students' skills performing ornamental fish aquaculture were higher than the defined criterion of 75 percent at the .01 level of significance. 4. The overall student satisfaction with the training curriculum on ornamental fish aquaculture was at the highest level ( = 4.53, S.D. = 0.56).
คำสำคัญ
หลักสูตรฝึกอบรม, ความรู้ในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม, ทักษะการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามKeyword
Training Curriculum, Knowledge of Ornamental Fish Aquaculture, Skills Performing Ornamental Fish Aquacultureกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 823
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,812
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033