บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) สร้างและศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียน และ 3) ตรวจสอบผลของกระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 69 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียน 2) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบวัดทักษะการคิด และ 6) แบบสอบถามของครูของนักเรียนต่อการเรียน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวชี้วัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย ตัวชี้วัดหลัก 8 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดย่อย 15 ตัวชี้วัด 2. กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนมี 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการนิเทศ ระยะดำเนินการนิเทศ และระยะหลังการนิเทศ ซึ่งระยะดำเนินการนิเทศประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้และกลุ่มร่วมพัฒนา ขั้นที่ 2 วางแผนการจัดการเรียนรู้และติดตามผลสำเร็จด้วยตัวชี้วัด ขั้นที่ 3 หนึ่งในทีมสร้างนำไปใช้ ขั้นที่ 4 ประเมินและให้ผลสะท้อนเชิงปัญญา ขั้นที่ 5 นำบทเรียนสู่ชั้นเรียนใหม่ และขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไขบทเรียน กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.29/83.52 3. ผลของกระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียน มีดังนี้ 1) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และคุณลักษณะของครู สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกด้าน 2) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอยู่ในระดับดี ถึงดีมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุดทุกระดับชั้น
Abstract
The purposes of this research were 1) to deveop indicators of ability in active learning management, 2) to create and identify the efficiency of a supervision process based on lesson study, and 3) to assess the effectiveness of the developed supervision process. The sample group was 69 Prathomsuksa 1-6 Thai Language teachers in academic year 2021, obtained by cluster random sampling. Research instruments consisted of 1) the supervision process based on lesson study, 2) a scoring rubric for assessing active learning management ability, 3) a teachers’ satisfaction questionnaire on the supervision process, 4) an achievement test, 5) a thinking skill test, and 6) a students’ satisfaction questionnaire on learning. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and one sample t-test. Results of the research were as follows: 1. Indicators of ability in active learning management comprised of eight main indicators, and 15 sub indicators. 2. The developed supervision process based on lesson study had three phases: pre-supervision, during supervision, and post-supervision. The during supervision phase consisted of six steps, namely, Step 1: Setting learning goals and joint development groups, Step 2: Planning learning management and follow up on achievements based on indicators, Step 3: Application, Step 4: Evaluation and reflection, Step 5: Implementing the lesson to a new class, and Step 6: Improving the lesson. The efficiency value of the developed supervision process was at 81.29/83.52. 3. The effectiveness of the supervision process based on lesson study included: 1) The teachers who were developed according to the supervision process had abilities in all aspects of learning management designing, learning managing, and attributes conducive to active learning management higher than the defined criteria of 70 percent at the .05 level of significance, 2) the teachers’ satisfaction with the developed supervision process was higher than the defined criteria of 70 percent at the .05 level of significance, and 3) the students learned with the teachers trained through the supervision process reached the good level of learning achievement and thinking skills, and the highest level of students’ satisfaction.
คำสำคัญ
กระบวนการนิเทศการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียน, ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ระดับประถมศึกษาKeyword
Supervision process based on lesson study, Ability of active learning management, Thai language teachers, Primary educationกำลังออนไลน์: 25
วันนี้: 782
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,771
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033