บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านต้นผึ้ง อำเภอพังโคน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน หน่วยการเรียนรู้ เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.36/78.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.40)
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop the mathematics learning management based on flipped classroom approach on the Fraction learning unit for Prathomsuksa 3 students to meet the efficiency of 75/75, 2) compare students’ learning achievement before and after the intervention, and 3) examine the students’ satisfaction with the developed mathematics learning management. The sample, obtained through purposive sampling, consisted of 17 Prathomsuksa 3 students in the second semester of the academic year 2021 at Ban Tonpeong school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments consisted of 12 lesson plans, a learning achievement test, and a set of questionnaires assessing students’ satisfaction. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1. The mathematics learning management based on flipped classroom approach on the Fraction learning unit for Prathomsuksa 3 students achieved an efficiency of 77.36/78.63, which was higher than the defined criteria of 75/75. 2. The mean of students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. 3. The students’ satisfaction with the developed mathematics learning management after the intervention was at a high level ( = 4.28, S.D. = 0.40)
คำสำคัญ
ห้องเรียนกลับด้าน, คณิตศาสตร์, เศษส่วนKeyword
Flipped classroom, Mathematics, Fractionกำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 30
เมื่อวานนี้: 708
จำนวนครั้งการเข้าชม: 893,802
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033