...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 114-123
ประเภท: บทความวิจัย
View: 306
Download: 100
Download PDF
สภาพที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
The Needs Conditions of English Learning Management Using Flipped Classroom with the Cooperative Learning to Enhance Communication and Teamwork Skills for Lower Secondary School Students
ผู้แต่ง
ณัฏฐณิกานต์ ทองโคตร, อัญชลี สารรัตนะ และนุชวนา เหลืองอังกูร
Author
Natthanikarn Thongkhot, Unchalee Sanrattana and Nuchwana Luanganggoon

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 (สพป.) และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น (สพม.) จำนวน 390 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 22 คน ประกอบด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษานิเทศก์ด้านภาษาอังกฤษและผู้ปกครองนักเรียน จำนวนกลุ่มละ 5 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเที่ยงตรงด้วยการคำนวณค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธฺ์แอลฟาเท่ากับ 0.92 และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนส่วนใหญ่มีการใช้อินเทอร์เน็ตตั้งแต่ 1-6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 52.56 รองลงมา คือ 7-12 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 38.46 เชื่อมต่อโดยใช้สมาร์ทโฟนคิดเป็น ร้อยละ 89.74 ใช้งานแอปพลิเคชันหรือบริการต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 100 ใช้ Facebook คิดเป็นร้อยละ 97.44 รองลงมา คือ Youtube คิดเป็นร้อยละ 91.28 และ Blogger มีการใช้น้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 1.03 ผลการศึกษาทำให้มั่นใจได้ว่า นักเรียนมีทักษะการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านแพลตฟอร์ม์ที่เอื้อต่อการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านได้ 2. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นต่อสภาพที่คาดหวังโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. อันดับความสำคัญของสภาพที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่าด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ มีดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและการประเมินผล และด้านผู้เรียนและผู้สอนตามลำดับ 4. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษจะช่วยให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นและสนใจเรียนมากขึ้น การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถเสริมสร้างทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษ และการทำงานเป็นทีมที่จำเป็นต่อทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้เป็นอย่างดี

Abstract

This research aimed to examine the needs conditions of English learning management using a flipped classroom combined with cooperative learning to enhance communication and teamwork skills for lower secondary school students. Multi-stage sampling was used to select lower secondary school students from schools under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office and schools under the Secondary Educational Service Area Office Khon Kaen, yielding a total of 390 participants. Purposive sampling was also used to select 22 informants consisting of two university lecturers in the Educational Technology Program, and five individuals from each of the following groups: administrators, English teachers at the lower secondary school level, English supervisors, and student parents. The tools for data collection were a set of questionnaires, a checklist form with 5-scale rating scales with an IOC index from 0.60 to 1.00, Cronbach’s alpha coefficient reliability value of 0.92, and a semi-structured interview. The statistics for data analysis comprised percentage, mean, standard deviation, PNI modified, and content analysis. The results showed that: 1. 52.56 percent of the students reported using the Internet for 1-6 hours per day, while 38.46 percent used it for 7-12 hours per day. 89.74 percent accessed the Internet via smartphones. Among the activities engaged in, the use of applications and other services was reported by participants (100%), followed by Facebook (97.44%), Youtube (91.28%), and Blogger (1.03%). These findings indicated that the students have developed the requisite skills to utilize the platforms and applications effectively for learning purposes in a flipped classroom environment. 2. Overall, the students rated the current conditions of English learning management using the flipped classroom with cooperative learning at a moderate level, while the expected conditions were rated at a high level. 3. In accordance with the priority needs index the learning environment was identified as foremost the priority, followed by learning activity management, measurement and evaluation, and students and teachers, respectively. 4. Incorporating educational technology in the English classroom is likely to increase students’ enthusiasm for learning. Additionally, utilizing flipped classroom learning management with cooperative learning could enhance communication and teamwork skills which are crucial skills for the 21st century.

คำสำคัญ

ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ทักษะในการสื่อสาร, ทักษะการทำงานเป็นทีม

Keyword

Flipped Classroom, Cooperative Learning, Communication Skills, Teamwork Skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 328

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,578

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033