...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 72-85
ประเภท: บทความวิจัย
View: 270
Download: 89
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Development of a Training Curriculum on Mixed-Media Art for Upper Secondary Students
ผู้แต่ง
คมเพชร สิงห์กระโจม และชวนพิศ รักษาพวก
Author
Kompech Singkrajom and Chuanpit Raksapuk

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปัญจดี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีการสมัครใจ (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์บุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม แบบสอบถามความต้องการของนักเรียน หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับ เรื่อง ศิลปะสื่อผสม แบบประเมินทักษะปฏิบัติ เรื่อง ศิลปะสื่อผสม และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการสัมภาษณ์บุคลากรผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน มีความต้องการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และจากแบบสอบถามนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 100 คน นักเรียนสนใจและต้องการให้เปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความชำนาญและมีทักษะในการปฏิบัติ 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ จุดมุ่งหมาย ขอบข่ายเนื้อหาสาระ ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมฝึกอบรม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ การวัดและประเมินผล และแผนการฝึกอบรบ ผลการตรวจสอบร่างหลักสูตรจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมและมีความสอดคล้องกันทุกประเด็น 3) ผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ พบว่า (1) นักเรียนที่ผ่านการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะสื่อผสม หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่ผ่านการอบรมมีทักษะการปฏิบัติศิลปะสื่อผสมด้วยเทคนิคปะติดสร้างสรรค์ สร้างสรรค์ความหลากหลายของสี อยู่ในระดับพอใช้ และมีทักษะการปฏิบัติศิลปะสื่อผสม แบบ 2 มิติ/แบบ 3 มิติ อยู่ในระดับดี และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ศิลปะสื่อผสม อยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were 1) to explore the need for training in mixed-media art for upper secondary students, 2) to develop a training curriculum in mixed-media art for upper secondary students, 3) to study the effects after implementing the training curriculum in mixed-media art for upper secondary students, and 4) to examine the students' satisfaction toward the developed training curriculum. The sample consisted of 20 upper secondary students at Punjadee School in the second semester of the academic year 2021, obtained through voluntary sampling. The research instruments included an interview form for personnel involved in a training curriculum development, a set of questionnaires examining student needs, a training curriculum in mixed-media art for upper secondary students, a test measuring knowledge about mixed-media art, a practice skills assessment form on mixed-media art, and a satisfaction form of students with the training curriculum. The statistics used in the research were mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples. The findings revealed that: 1) The need for mixed-media art training among upper secondary students through a combination of interviews with five personnel involved in the training curriculum, and a questionnaire survey of 100 upper secondary students. The results indicated that both parties expressed a need for a training curriculum in this area. The students also exhibited a keen interest in developing practical skills and becoming proficient in mixed-media art, thereby indicating a desire for additional courses to be offered by the school, 2) The training curriculum included the following components: principles, objectives, and scope of content, time spent on training, training activities process, media and materials, measurement and evaluation, and training plans. The quality of the developed training curriculum based on expert reviews was appropriate and consistent with all aspects of the curriculum, 3) The effects after the intervention disclosed that: (1) students’ knowledge in mixed-media art after the training was higher than that before the training at the 0.5 level of significance, (2) students’ practice skills with creative collage techniques and creative colorful artwork were at a medium level and a good level regarding in 2D/3D, and 4) the student satisfaction toward the developed training curriculum was at a high level.

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, ศิลปะสื่อผสม

Keyword

Curriculum Development, Training Curriculum, Mixed-Media Art
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 169

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,419

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033