บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนที่ของหมอพื้นบ้าน 2) ศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา การรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน 3) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับหมอพื้นบ้าน และ 4) หารูปแบบกระบวนการสืบทอด ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน ใช้วิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์พื้นบ้าน จำนวน 9 คนเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบบันทึกกิจกรรม และแบบสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มการสัมภาษณ์ การสังเกต การสะท้อนผล และการถอดบทเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บริบทบ้านไทรงามตั้งอยู่เนินเขาภูแลนคา มีประชากร 1,093 คน รวม 454 หลังคาเรือน เมื่อ พ.ศ. 2493 วิถีชีวิตบรรพบุรุษใช้สมุนไพร “ขิงแห้ง” ใช้เป็นอาหาร “ตำเมี่ยงสมุนไพร” สรรพคุณขับน้ำคาวปลา บำรุงน้ำนม เลือดลมดี อาหารสมุนไพรมีกว่า 40 ชนิด หมอพื้นบ้านได้ขึ้นทะเบียนดังนี้ นายเขียว พิมฉิม เป่าดับพิษแมลงป่อง ตะขาบ นายเหวียน พาป้อ นวดเส้นเอ็นยึด นายทองปาน กองแก้ว พิธีกรรมตัดศพ นายกองมี วรรณพงษ์ หมอสู่ขวัญ นายหนูนาย งอกนาวัง เป่าดับพิษแมลงป่อง นายบุญเติม งามสมบัติ เป่าตาแดง วิธีวินิจฉัยโรคเริ่มจากการซักประวัติคนไข้ร่วมกับการตรวจร่างกาย ส่วนใหญ่หมอพื้นบ้านจะใช้การเตรียมสมุนไพรพร้อมกับคาถา นอกจากนี้หมอบางคนมีวิธีปฏิบัติพิเศษที่ประกอบด้วยการรักษาศีล ทางศาสนามักจะทำบุญและไม่ดื่ม เมื่อคุณค่าความสำคัญลดลง ขาดการพัฒนาภูมิปัญญา ขาดผู้สืบทอด ไม่ได้บันทึกภูมิปัญญาจึงสูญหายไปตามการเสียชีวิตหมอพื้นบ้าน จึงมีรูปแบบกระบวนการสืบทอด สืบสานภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านผสมผสานแบบเดิมและใหม่ ได้แก่ พ่อสอนลูก เรียนรู้จากพระ ผู้รู้ รูปแบบใหม่ ได้แก่ การอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ ยาหม่องขิง ชาขิงแห้ง การอนุรักษ์และขยายพันธุ์ขิงแห้ง การทำธนาคารน้ำใต้ดิน ขยายพื้นที่ปลูกสมุนไพรขิงแห้งเป็นสมุนไพรอัตลักษณ์ชุมชนไทรงาม การยกระดับหมอพื้นบ้าน มีบุคลิกดี มีป้ายบอก การจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญา มีตำรับยาสมุนไพร ใช้ดูแลรักษาสุขภาพ คนในชุมชน
Abstract
The purposes of this participatory action research were to 1) examine the ways of life of folk healers, 2) study the bodies of knowledge, wisdom, and treatment of folk healers, 3) investigate problematic situations and their effects on folk healers, and 4) identify a model of the process of inheritance and succession of the wisdom of folk medicine for health care. The target group consisted of nine folk healers. The research tools included interviews, logs of observation, written notes, and a survey. The data from a focus group discussion, interviews, observation, reflection, and lessons learned were analyzed using descriptive analysis. The findings revealed that Ban Sai-Ngam is located on Phu Laen Kha Hill with a population of 1,093 people and 454 households. In 1950, traditional herbs called dried gingers were used as a food flavoring, such as "Tum Miang Samunprai (herb salad with food wrapped in leaves)" since ancient times. Its properties included amniotic fluid removal, milk nourishment, and improved blood circulation. More than 40 different types of herbs were cited for consumption in the present study. The folk healers have been registered as traditional practitioners and described their treatment approaches, including Mr. Khieo Pimchim for scorpions’ and centipedes’ envenomation treatment, Mr. Vien Papor for deep-tissue massages treatment, Mr. Tongparn Kongkaew for ceremony-related mortality, Mr. Kongmee Wannapong for blessing ceremony profession, Mr. Noonai Ngorknawang for scorpions’ envenomation treatment, and Mr. Boonterm Ngarmsombat for infective conjunctivitis (pinkeye) treatment. The diagnostic processes began with a historical inquiry and a detailed physical examination. The most common healing practices involved the use of herbal medicines and the recitation of incantations. In addition, some folk healers performed extra practices by observing religious precepts, usually making merit, and being non-alcoholic. The value of treatment declined as a result of a lack of wisdom development and inheritance, and a loss of wisdom with the deceased masters. The inherent and successive process of the local wisdom of folk healers was blended with traditional and modern healing approaches and transmitted across generations through instruction from family members, Buddhist monks, and professionals. This process has facilitated the development of a distinct body of local wisdom pertaining to healing practices: workshops on processed products, such as ginger balms, dried ginger teas, dried ginger preservation and breeding, and groundwater banking to increase herbal growing demand as dried ginger herbs, which are the medicinal herb identity of the Sai-Ngam Community. The community’s health care is being improved by upgrading folk healers, who put an emphasis on having a good personality, bodies of knowledge of wisdom, and herbal medicinal recipes.
คำสำคัญ
กระบวนการสืบทอด, การสืบสานภูมิปัญญา, การแพทย์พื้นบ้าน, การดูแลรักษาสุขภาพKeyword
Inherent Process, Local Wisdom Inheritance, Local Medical Practices, Health Careกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 422
เมื่อวานนี้: 1,300
จำนวนครั้งการเข้าชม: 971,457
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033