บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองไฮ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ โจทย์ปัญหาระคน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ โจทย์ปัญหาระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.36/73.93 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 70/70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่นร่วมกับแบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop a learning management plan in mixed problem-solving learning unit using play-way method learning management with skill exercises for Prathomsuksa 3 students to meet the efficiency criteria of 70/70, 2) to compare the students’ Mathematics learning achievements before and after learning through the play-way method learning management with skill exercises, and 3) to compare the students’ Mathematics problem-solving ability before and after learning through the play-way method learning management with skill exercises. The sample consisted of 14 Prathomsuksa 3 students at Ban Nonghai School in the second semester of the academic year 2021, obtained by cluster random sampling. The research instruments included: 1) learning management plan in mixed problem-solving learning unit using play-way method learning management with skill exercises, 2) an learning achievement test, and 3) a Mathematics problem-solving ability test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The research results were as follows: 1) the learning management plan in mixed problem-solving learning unit using play-way method learning management with skill exercises for Prathomsuksa 3 students had the efficiency of 75.36/73.93, which was higher than the defined criterion of 70/70, 2) the mean of students’ learning achievement after learning through the play-way method learning management with skill exercises was significantly higher than that of before at the .05 level, and 3) the mean of students’ Mathematics problem-solving ability after learning through the play-way method learning management with skill exercises was significantly higher than that of before at the .05 level.
คำสำคัญ
การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, โจทย์ปัญหาระคน, การจัดการเรียนรู้แบบเรียนปนเล่น, แบบฝึกทักษะKeyword
Mathematics problem solving, Mixed problems, Play-way method learning management, Skill exercisesกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 757
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,746
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033