...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2566
หน้า: 28-37
ประเภท: บทความวิจัย
View: 244
Download: 88
Download PDF
การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยใช้การสะท้อนคิด
Developing the Ability to Write the Background and Significance of the Research Problems of the Students of the Faculty of Education, Loei Rajabhat University Using Refection Thinking
ผู้แต่ง
ภัทราพร เกษสังข์
Author
Patthraporn Kessung

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้การสะท้อนคิด และ 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ระหว่างหลังเรียนโดยใช้การสะท้อนคิดกับเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 25 คน ได้โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดภาคปฏิบัติ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาคณะนักศึกษาคณะครุศาสตร์หลังเรียนโดยใช้การสะท้อนคิดมีความสามารถด้านการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหามากกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษามีการเขียนที่เป็นระบบมากขึ้น เขียนให้เห็นเนื้อหาที่จะพัฒนาผู้เรียนสำคัญอย่างไร มีแหล่งข้อมูลสนับสนุน มีการยกตัวอย่างให้เห็นปัญหาที่พบ มีการกล่าวถึงประโยชน์ของนวัตกรรมที่นำมาใช้ สรุปประเด็นปัญหาการวิจัยจะเขียนสอดคล้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย 2. นักศึกษาคณะครุศาสตร์หลังเรียนโดยใช้การสะท้อนคิดมีความสามารถด้านการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหามากกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

This research aimed 1) to compare students’ writing ability in writing the background and significance of the research problems between pre- and post-attending the instruction using reflective thinking, and 2) to compare students’ writing ability in writing the background and significance of the research problems after attending the instruction using reflective thinking with the 70 percent criterion. The sample in this research consisted of 25 students in the Faculty of Education studying a Learning Innovation Research and Development Course and selected through a cluster random sampling. The research instruments included a performance assessment form and an observation form. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and qualitative content analysis.  The results showed that: 1. The student writing ability in writing the background and significance of the research problems was higher than that before the intervention at the .01 level of significance. Students demonstrated an ability to write with greater systematicity by emphasizing the importance of developing learners, providing references to support their arguments, analyzing examples to clarify the encountered problems, addressing the advantages of implemented innovation, and summarizing research issues in alignment with research topics. 2. The students’ wiring ability scores after the intervention were higher than the 70 percent criterion with the .01 level of significance.

คำสำคัญ

ความสามารถด้านการเขียน, การสะท้อนคิด

Keyword

Writing Ability, Reflective Thinking
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 277

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,527

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033