บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำไข่เค็มดองน้ำเกลือของชุมชนตาลเอน โดยมุ่งเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ชุมชน และปราชญ์ชาวบ้าน 2) นำองค์ความรู้มาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นปราชญ์ชาวบ้านผู้ผลิตไข่เค็มดองน้ำเกลือชุมชนตาลเอน จำนวน 2 ท่าน คือ นางทองอยู่ อินจันทร์ และนายประยูร อินจันทร์ ซึ่งได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ 2) แบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหลักการทางวิทยาศาสตร์การทำไข่เค็มดองน้ำเกลือ แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา และวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแผนการจัดการเรียนรู้ ถ้าค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่า 0.50 ขึ้นไป แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาการทำไข่เค็มดองน้ำเกลือ คือ การละลายเกลือในน้ำให้กลายเป็นน้ำเกลือ จะเชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์ในเรื่อง การแพร่ และการดองไข่เค็มจะเชื่อมโยงกับหลักการวิทยาศาสตร์ในเรื่อง ออสโมซิส โดยน้ำเกลือจะซึมผ่านเปลือกไข่ที่มีรูพรุนทำให้ไข่มีรสชาติเค็ม 2) ผลการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน พบว่า การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากกิจกรรมมาสู่บทเรียนวิทยาศาสตร์ เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนของตนเอง และผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า ผลรวมค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เท่ากับ 0.94 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน เรื่อง ไข่เค็มดองน้ำเกลือ ชุมชนตาลเอน มีคุณภาพสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้
Abstract
The objective of this research were to: 1) investigate Tan En community knowledge and local wisdom in creating salted eggs, with an emphasis on scientific process skills, local learning centers, and salted egg specialists. 2) In science classes, design a science lesson plan. Mrs. Thong-U Inchan and Mr. Prayoon Inchan, two experts in preparing salted eggs, provided the samples for this study, which were gathered using purposive sampling. 1) An in-depth interview was used as a research instrument. 2) the IOC (Index of Item-Objective Congruence) assessment to ensure that the lesson plan is of high quality. The data was examined by combining the information gathered from interviews with experts in the field of salted egg production with the information gathered from researching the scientific principles of salted eggs and analyzing the knowledge gained from the research. Examining the lesson plan's Item-Objective Congruence (IOC) assessment. The lesson plan is of good quality if the consistency index value is 0.50 or higher. The result show that, 1) The knowledge gained through the study of salted eggs in brine is dissolving salt in water into brine, according to the results. It is linked to the diffusion principle in science. The preserved salted egg is made possible by the scientific principle of osmosis, which allows brine to flow through the porous eggshell and provide a salty flavor to the egg. 2) Based on the findings of the scientific lesson plan created with local wisdom as a foundation, it was discovered that using local wisdom to organize teaching and learning activities will encourage students to connect information from activities to science lessons. Students gain knowledge through participating in activities. In addition, Students are also encouraged to contribute to the transmission and preservation of local wisdom in their own communities. 3) The quality assessment of the science lesson plan discovered that the sum of the consistency index values from all three experts = 0.94, which is greater than 0.50, indicating that the science lesson plan using Tan En Community's local wisdom as a base for salted eggs has quality and can be used to organize teaching and learning.
คำสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ไข่เค็มดองน้ำเกลือ, ชุมชนตำบลตาลเอนKeyword
Local wisdom, Salted eggs, Tan En Communityกำลังออนไลน์: 14
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,742
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,731
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033