...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 145-153
ประเภท: บทความวิจัย
View: 193
Download: 108
Download PDF
การวิเคราะห์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา เรื่อง การหาร
An Analysis of Mathematics Textbooks Emphasizing Division Problem Solving
ผู้แต่ง
สุทธิกาณฑ์ ปัญญา, เกียรติ แสงอรุณ และนฤมล ช่างศรี
Author
Suttikan Panya, Kiat Sangaroon and Narumon Changsri

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา เรื่อง การหาร โดยงานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 2 จากสำนักพิมพ์ GAKKO TOSHO ฉบับภาษาไทย ในหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การหาร ใบกิจกรรมที่แสดงแนวคิดของนักเรียนในหน่วยการเรียน เรื่อง การหาร และข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ของผู้มีประสบการณ์และมีความเข้าใจในการใช้หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2559) ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน 2) การแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรม และ 3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1. สัญลักษณ์แสดงกิจกรรมในโครงสร้างของหนังสือเรียน จะส่งเสริมให้เกิดการแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน โดยเนื้อหา คือ ความรู้เดิมจากสิ่งที่เรียนผ่านมา หรือประสบการณ์ในชีวิตประจำวันที่สอดคล้องกับกิจกรรมที่กำลังแก้ปัญหา ได้แก่ สถานการณ์ที่จำเป็นต้องมีการแบ่ง 2 รูปแบบ คือ การหารเพื่อหาจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และการหารเพื่อหาจำนวนกลุ่ม รวมไปถึงบทบาทของครู ลื่อที่ใช้ 2. ตัวอย่างแนวคิดของนักเรียนที่จะเกิดขึ้น รวมไปถึงส่วนที่เป็นลำดับขั้นของการทำกิจกรรมที่ปรากฎในหนังสือเรียน สามารถใช้เป็นแนวทางในการลำดับการสอนเพื่อให้เกิดการแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรมของนักเรียนได้ นอกจากนี้ การใช้สื่อเสริม เช่น บล็อก ตารางการคูณ ก็มีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดคำสำคัญต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแสดงแทนด้วยสื่อกึ่งรูปธรรมของนักเรียนอีกด้วย 3. การนำเสนอ ความรู้ เนื้อหาส่วนที่เป็นนิยาม อนิยาม สัจพจน์ กฎ สูตร ในส่วนท้ายของการทำกิจกรรม และแบบฝึกหัดท้ายคาบเรียน ในโครงสร้างของหนังสือเรียน เป็นส่วนที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียนเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการหารด้วยตนเองได้

Abstract

The objective of this research was to analyze the mathematics textbooks with a focus on division problem solving using a qualitative research methodology. The data were collected from mathematics textbooks on problem solving and were translated into Thai for Prathomsuksa 3, Volume 2 by the Gakkotosho publishing company, in the learning unit on division, student activity sheets, and focus group discussions with professionals who have experience and understanding with using mathematics textbooks, focusing on problem solving. The data was analyzed using Inprasitha’s framework (2016) in three areas, 1) real-world representations, 2) semi-concrete aids, and 3) mathematical world representations. This research results revealed that 1. The symbolism that portrayed mathematical activities in the textbooks’ structure supported the students’ real-world representations. The contents comprised knowledge that had already been learned or past or daily experiences that were aligned with the specified problem-solving activities, such as two situational tasks that matched the partitive division and quotative division, and included the teachers’ roles and media. 2. The examples of the emerging students' thoughts as well as the activities organized in the textbooks could be the guidelines for arranging instructions to create semi-concrete representations. The introduction of additional media such as blocks, and multiplication tables, also promotes multiple keywords that correspond to the students’ semi-concrete media. 3. The textbook structure was presenting knowledge, contents with defined terms, undefined terms, postulates, laws, and formulas at the end of the activities, and exercises at the end of the class to support the students’ learning and represent their mathematical world where students would represent their real world and semi-figurative media to create the knowledge about division by themselves.

คำสำคัญ

การวิเคราะห์หนังสือเรียน, หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหา, การหาร

Keyword

Analysis of Textbooks, Textbooks Emphasizing Problem solving, Division
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 4

วันนี้: 127

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,422

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033