บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมและจัดประเภทนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ศึกษาวิเคราะห์ ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วิถีชีวิต และบทบาท ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ 3) สร้างหลักสูตรท้องถิ่นโดยการใช้นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างคือ ชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ นิทานพื้นบ้านและแผนการสอน จำนวน 8 แผน ผลการวิจัยพบว่า 1) นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน นิทานเกี่ยวกับสัตว์มีมากที่สุด จำนวน 17 เรื่อง นิทานท้องถิ่น 15 เรื่อง นิทานปรัมปรา 10 เรื่อง นิทานเทพนิยาย 7 เรื่อง และนิทานตลกขบขันมีน้อยที่สุด จำนวน 1 เรื่อง 2) ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี วิถีชีวิต และบทบาท ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ อาทิ ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเรื่องโชคชะตา ความเชื่อเรื่องอมนุษย์ ค่านิยมเรื่องความรัก ค่านิยมเรื่องความขยัน ค่านิยมเชื่อฟังผู้ใหญ่ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต วิถีชีวิตเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะบ้านเรือน การคมนาคม เครื่องมือเครื่องใช้ และอาหารพื้นบ้าน เป็นต้น 3) หลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้นิทานพื้นบ้านชนชาติพันธุ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีคุณภาพเหมาะสม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยได้ยึดคำอธิบาย รายวิชาเพิ่มเติม ท 16201 นิทานพื้นบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์ เนื้อหา และกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะคำอธิบายรายวิชาต้องการให้ผู้เรียนศึกษานิทานเพื่อให้เห็นสาระต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในนิทานพื้นบ้าน เช่น สํานวน ภาษา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความรู้สึกนึกคิด ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจสภาพท้องถิ่นและเห็นคุณค่าของนิทานพื้นบ้าน
Abstract
The research aimed to 1) collect and categorize the types of ethnic folk tales from Mueang district in Maehongson province; 2) examine and analyze the beliefs, values, traditions, ways of life, and roles that these ethnic folk tales from Mueang district in Mae Hong Son province portray; and 3) construct a local curriculum on these folk tales. The sample in the study, obtained by purposive sampling, comprised 50 participants from different ethnic groups in Mueang district, Maehongson province. The research tools consisted of curriculum documents, including folk tales and eight lesson plans. The study results revealed that: 1) The majority of ethnic folk tales in Mueang district, Mae Hong Son Province, were 17 animal tales, followed by 15 local tales, ten myths, seven fairy tales, and one jest, 2) The folk tales reflected people’s beliefs in religion, fate, non-human beings, as well as their values, traditions, ways of life, and roles. The values discovered were: love, diligence, and respect for the elderly. The study also showed that the ways of life, settlement patterns, housing characteristics, transportation, tools and equipment, and local food were all tied to traditions of livelihood; and 3) The developed local curriculum that incorporated ethnic folk tales, was of an appropriate quality level, adhered to the course description for an additional subject (Tor) 16201: Folk tales in Mueang district, Mae Hong Son Province, and served as the guideline for determining its objectives, contents, and teaching and learning activities. According to the course description, learners are required to study folk tales to discover the hidden meanings in the stories, including idioms, language, ways of life, customs and traditions, values, and thoughts that assist in comprehending the local context and recognize the values of local folk tales.
คำสำคัญ
หลักสูตรท้องถิ่น, นิทานพื้นบ้าน, ชนชาติพันธุ์Keyword
Local Curriculum, Folk Tales, Ethnic Groupsกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,740
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,729
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033