บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือชุดกิจกรรม Green box (หน่วยระบบนิเวศ) ที่พัฒนาในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps ของนักเรียน โรงเรียนบ้านมะกอก มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนบ้านมะกอก ตำบลทัพเสด็จ อำเภอตาพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาชุดกิจกรรม Green box และศึกษาความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนบ้านมะกอกมีบริบทและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญจึงได้ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอน ดังนี้ 1) ชุดกิจกรรม Green box (หน่วยระบบนิเวศ) มีขั้นตอนการศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศ คือ (1) การตั้งคำถาม อะไร (What) (2) อย่างไร (How) (3) ทำไม (Why) และ (4) การใช้การสื่อสารถ่ายทอดความรู้ โดยบูรณาการร่วมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps และ 2) ประสิทธิภาพของการใช้เครื่องมือชุดกิจกรรม Green box (หน่วยระบบนิเวศ) ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps พบว่า ผลการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 steps ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The objectives of this research were 1) to develop an active learning activity management with GPAS 5 steps, and 2) to examine the efficiency of the Green Box Activity Set (Ecological System Unit) using the active learning activity management system based on GPAS 5 steps for Ban Makok School students. The two-step research method was organized as follows: Step 1-Developing an active learning activity management based on GPAS 5 steps The ten informants consisted of school directors and teachers of Ban Makok School, Thap Sadet Sub-district, Ta Phraya District under Sa Kaeo Primary Educational Service Area Office 2. The research tools were structured interviews. Data analysis included the use of content analysis. Step 2-Developing a set of Green Box Activities and examining the success of the active learning activity management. The research tool was a set of questionnaires with a 5-level rating scale. Mean and standard deviation were used in the data analysis. The findings revealed that the environment and natural resources at Ban Makok School play a significant role in the development of teaching and learning as follows: 1) The Green Box Activity Set (Ecological System Unit) comprised the following learning steps: (1) Questioning posing by using ‘What’ (2) ‘How’, (3) ‘Why’, and (4) Integrating communication for knowledge transfer within Science and English courses through the active learning activity management with GPAS 5 Steps, and 2) the efficiency of the implementation of the developed Green Box Activity Set (Ecological System Unit) through the active learning activity management with GPAS 5 Steps revealed that the active learning activity management with GPAS 5 Steps was overall at the highest level.
คำสำคัญ
การเรียนรู้เชิงรุก, ชุดกิจกรรม Green Box, GPAS 5 StepsKeyword
Active learning, a Green Box Activity Set, GPAS 5 Stepsกำลังออนไลน์: 13
วันนี้: 904
เมื่อวานนี้: 873
จำนวนครั้งการเข้าชม: 968,893
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033