...
...
เผยแพร่: 16 ม.ค. 2561
หน้า: 211-222
ประเภท: บทความวิจัย
View: 183
Download: 92
Download PDF
สภาพ ปัญหาและแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2
Existing Situation and Guidelines of the schools–Based Management Model for Educational Institutes of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2
ผู้แต่ง
อัษฎากร เกตมาลา, สุชาติ บางวิเศษ
Author
Asadakorn Ketmala, Suchat Bangwiset

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 426 คน จำนวน 142 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 142 คน ครูผู้สอน จำนวน 142 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.52)  และรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดลงมา คือ หลักการบริหารตนเอง หลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

2. ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (\bar{x} = 2.93) และรายด้านทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดลงมา คือ หลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน หลักการบริหารตนเอง หลักการมีส่วนร่วม หลักการกระจายอำนาจ และหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล

3. แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการกระจายอำนาจ 3 แนวทาง ด้านการมีส่วนร่วม 3 แนวทาง ด้านการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้แก่ประชาชน 3 แนวทาง และด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล 3 แนวทาง

Abstract

The purposes of this research were to study 1) to study the state of school based management 2) To study the problems of school based management 3) To study the school based management of schools under Mahasarakham Primary Education Service Area Office 2. Population of the research are 426 people, 142 schools. Included 142 administrators, 142 teachers and 142 the school basic of education committees. data collect used a query of rating scale and analyze the data by using Percentage, mean and standard deviation.

The findings were:

1. Opinion of schools administrators, teachers and based educational board of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 about current conditions in the administration was generally grated “high” while each aspect priority by highest to lowest frequency were Self-managing, Participation or Collaboration or Involvement, Decentralization, Return Power to People and Check and Balance.

2. Opinion of schools administrators, teachers and based educational board of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2 about problem conditions in the administration was generally grated “medium” while each aspect priority by highest to lowest frequency were Return Power to People, Self-managing, Participation or Collaboration or Involvement, Decentralization and Check and Balance.

3. Format of the school–Based Management Model for Educational Institutes of Mahasarakham Primary Educational Service Area 2. Composed of five elements were Decentralization, Participation or Collaboration or Involvement, Return Power to People, Self-managing and Check and Balance.

คำสำคัญ

สภาพปัญหา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, แนวทางการบริหาร

Keyword

Management, School based Administration, Management Guideline
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 476

เมื่อวานนี้: 600

จำนวนครั้งการเข้าชม: 789,409

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033