...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 103-109
ประเภท: บทความวิจัย
View: 108
Download: 99
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การแปรรูปเห็ดนางฟ้า สำหรับประชาชนจังหวัดราชบุรี
The Training Course Development for Fairy Mushrooms Processing for People in Ratchburi Province
ผู้แต่ง
ศิริพร ลายคล้ายดอก, นภาภรณ์ ธัญญา และสุภาพร แพรวพนิต
Author
Siriporn Laikhaidok, Napaporn Tunya and Supaporn Praewpanit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ เรื่อง การแปรรูปเห็ดนางฟ้า สำหรับประชาชนจังหวัดราชบุรี 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การแปรรูปเห็ดนางฟ้า สำหรับประชาชนในจังหวัดราชบุรี 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒาขึ้น และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย คือ ประชาชนในตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี จำนวน 30 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการ 2) แบบประเมินความเหมาะสม 3) แบบประเมินความสอดคล้อง 4) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ 5) แบบประเมินความสามารถ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ ดังนี้ ด้านเนื้อหามีความต้องการการแปรรูป ร้อยละ 37.50 ความรู้ทั่วไป ร้อยละ 20.83 และการบรรจุภัณฑ์ ร้อยละ 17.50 ตามลำดับ 2) หลักสูตรฝึกอบรมมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการและเหตุผลของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เนื้อหาสาระของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อและวัสดุการประกอบการฝึกอบรม และการวัดผลประเมินผลหลักสูตร 3) ผลสัมฤทธิ์หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับดี มีคะแนนร้อยละของค่าเฉลี่ยเท่ากับ 93.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 และ 4) ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.16, S.D. = 0.81)

Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the demand for fairy mushroom processing for people in Ratchaburi Province, 2) to develop a training course for fairy mushrooms processing for people in Ratchaburi Province, 3) to study the achievement of using the developed training course, and 4) to study the participants’ satisfaction towards the training course. The sample group of the study was 30 people in Huai Yang Thon Sub-district, Pak Tho District in Ratchaburi Province, derived from purposive sampling. The research instruments included demand questionnaires, suitability assessment form, conformity assessment form, cognitive tests, competence assessment form, and satisfaction questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation. The findings were as follows: 1) the demand for training course development consists of the following aspects respectively: the demand for processing content aspect was 37.50 percent, general knowledge was 20.83 percent, and packaging was 13.50 percent, 2) the developed training course consists of the following components: course principles and rationale, course objectives, course content, course structure, training activities, media and materials for training, and course assessment, 3) the training course achievement was at a good level with an average percentage of 93.45 percent, which was higher than the criteria set at 80 percent, and 4) the participants’ satisfaction was at a high level (\bar{x} = 4.16, S.D. = 0.81).

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, หลักสูตรฝึกอบรม, การแปรรูปเห็ดนางฟ้า

Keyword

Training course development, Training course, Fairy mushrooms processing
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 3

วันนี้: 69

เมื่อวานนี้: 533

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,364

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033