...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 85-94
ประเภท: บทความวิจัย
View: 250
Download: 225
Download PDF
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับครู
Development of Competency-Based Learning Management Training Curriculum to Enhance Teachers’ Competency
ผู้แต่ง
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม และบุญส่ง กวยเงิน
Author
Kamolchart Klomim and Boonsong Kuayngern

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับครู 2) ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรและกระบวนการดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรม คู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรม แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรม แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเป็นครูในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง แบบแผนการวิจัย คือ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และใช้วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ โดยมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ ความเป็นมาของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมระดับมาก (\bar{x}= 4.32, S.D. = 0.13) และคู่มือการใช้หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก (\bar{x} = 4.14, S.D. = 0.15) 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของผู้เข้ารับการอบรม หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ หลังฝึกอบรมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x}= 4.58, S.D. = 0.46)

Abstract

The objectives of this research were to:1) develop and assess the quality of a competency-based learning management training curriculum to enhance teachers’ competency, 2) compare teachers’ competencies before and after implementation of the developed training curriculum, and 3) study trainees’ satisfaction towards the competency-based learning management training curriculum. The study was conducted according to three research and development steps as follows: step 1: developing and assessing the quality of the training curriculum for learning management to enhance teachers’ competencies, step 2: implementing the developed training curriculum, and step 3: studying trainees’ satisfaction towards the curriculum and implementation process. The research instruments included: a competency-based learning management training curriculum, a manual for the training curriculum, a training curriculum and curriculum manual evaluation form, a competency-based learning management cognitive test, and a satisfaction questionnaire towards the training curriculum. The training curriculum was implemented with a sample of 30 teachers in Phitsanulok province obtained purposively. A One Group Pretest-Posttest design was utilized in this study. Data were analyzed using mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The research results found that: 1. The developed training curriculum focuses on collaborative learning and uses a role-played teaching method with 8 components, namely: the background of the curriculum, curriculum principles, objectives of the curriculum, curriculum content structure, training activities, training periods, instructional materials, assessment and evaluation. The results of curriculum quality assessment revealed that the developed training curriculum was at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.32, S.D. = 0.13) with the curriculum manual at a high level of appropriateness (\bar{x} = 4.14, S.D. = 0.15) 2. The results of training curriculum implementation found that: 1) teachers’ knowledge and understanding of competency-based learning management design after curriculum implementation was significantly higher than before at .05 level and 2) teachers’ competency-based learning management design ability after curriculum implementation was higher than the criterion of 70 percent with a statistical significance at the .05 level. 3. The overall satisfaction of the trainees towards the training using the developed training curriculum was at the highest level (\bar{x} = 4.58, S.D. = 0.46).

คำสำคัญ

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรฝึกอบรม, การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Keyword

Curriculum development, Training curriculum, Competency-based learning management
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 13

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,524

จำนวนครั้งการเข้าชม: 973,761

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033