...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 61-67
ประเภท: บทความวิจัย
View: 231
Download: 114
Download PDF
ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เซต โดยการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Effects of Mathematics Learning on SET Through Student Teams Achievement Divisions (STAD) for Mattayom Suksa IV Students
ผู้แต่ง
จิราภรณ์ แจ้งมรคา และพัณบงกช ปาณมาลา
Author
Jiraporn Jangmoraka and Panbongkoj Panamala

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโคกสลุงวิทยา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่อง เซต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.56, S.D. = 0.74)

Abstract

The objectives of this research were 1) to compare students’ learning achievement before and after learning through cooperative learning management with STAD technique on Set for Mattayom Suksa IV students and 2) to study students’ satisfaction towards the learning through cooperative learning management with STAD technique on Set. The sample group was 25 Mathayom Suksa IV students at Khok Salung Wittaya School, Phatthana Nikhom District, Lopburi Province, in the second semester of 2021 academic year, who were obtained through cluster random sampling. The research instruments consisted of 1) learning management plans 2) a learning achievement test, and 3) a set of satisfaction questionnaire towards the learning. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test. The research finding were as follow: 1. The students' learning achievement average score after learning through cooperative learning management with STAD technique on Set for Mattayom Suksa IV students was significantly higher than that of before at the .05 level.  2. The overall average score of students’ satisfaction towards the learning through cooperative learning management with STAD technique on Set for Mattayom Suksa IV students was at the highest level (\bar{x} = 4.56, S.D. = 0.74).

คำสำคัญ

ผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD

Keyword

Learning outcomes in mathematics, Learning management with STAD technique
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 531

เมื่อวานนี้: 735

จำนวนครั้งการเข้าชม: 793,293

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033