...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 47-53
ประเภท: บทความวิจัย
View: 176
Download: 221
Download PDF
การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับแบบฝึกทักษะ
The Development of Thai Reading Ability of Prathomsuksa 1 Students Through Explicit Learning Management with Exercise Packages
ผู้แต่ง
สุภาพร กรึงพุทรา และนฤมล ภูสิงห์
Author
Supaporn Kruengphutsa and Narumon Pusing

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับแบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความคงทนของความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากจาบวิทยา อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือในการงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.22/81.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิทร่วมกับแบบฝึกทักษะมีความคงทนในการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop lesson plans based on Explicit Learning Management (ELM) with exercise packages to promote Thai reading ability of Prathomsuksa 1 students to meet the defined criterion of 80/80, 2) compare students’ learning achievement before and after learning, 3) compare students’ Thai reading ability before and after learning, 4) study the retention of students’ Thai reading ability. The sample consisted of 1 classroom of Prathomsuksa 1 students at Pak Chap Witthaya School, Bamnet Narong District, Chaiyaphum Province, in the academic year 2021, obtained by cluster random sampling. The research instruments included: 1) lesson plans, 2) a learning achievement test, and 3) a Thai reading ability test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and dependent samples t-test.  The research results were as follows: 1) the lesson plans based on ELM with exercise packages to promote the reading ability of Prathomsuksa 1 students had the efficiency of 82.22/81.67, which met the defined criterion of 80/80, 2) the mean of students’ learning achievement after learning through ELM with exercise packages was higher than that of before at the .01 level of significance, 3) the mean of students’ Thai reading ability after learning through ELM with exercise packages was higher than that of before at the .01 level, and 4) the students' Thai reading ability who learned through ELM with exercise packages had learning retention.

คำสำคัญ

การอ่านภาษาไทย, การจัดการเรียนรู้แบบเอ็กซ์พลิซิท, แบบฝึกทักษะ

Keyword

Thai reading, Explicit learning management, Exercise packages
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 14

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,741

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,730

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033