...
...
เผยแพร่: 16 ม.ค. 2561
หน้า: 203-210
ประเภท: บทความวิจัย
View: 199
Download: 218
Download PDF
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูโรงเรียนบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
Development of the Program to Enhance instructional Learning Management using Blended Learning for Teachers in Banpang School under the Ubonratchathani Primary Educational Service Area Office 2
ผู้แต่ง
ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์
Author
Bhumbhong Jomhongbhibhat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานของครูโรงเรียนบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน สำหรับครูโรงเรียนบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนบ้านแพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีวิจัยและพัฒนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนด้านที่อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ในส่วนของปัญหาการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ด้านสื่อ และแหล่งการเรียนรู้ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2. โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล โดยที่โปรแกรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51

3. ผลการทดลองใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ปรากฏดังนี้

3.1 ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ของครูโรงเรียนบ้านแพงระหว่างก่อนการใช้โปรแกรมกับหลังการใช้โปรแกรมและกับเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า หลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 75

3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม พบว่า ครูมีความพึงพอใจที่ได้รับการพัฒนาตามโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54

Abstract

The purposes of this research were to: 1) study problems and guidelines of instructional 2) development of the Program 3) study the effect of experiment of the Program 4) evaluate the effectiveness of the Program. The target consisted of 9 teachers of Banpang school under the Ubonratchathani Primary Educational Service Area Office 2 the period for the research of education was at the first semester of academic year 2017. The research methodology using research and development. The statistics used in analyzing data were: percentage, mean standard deviation and t-test dependent simples.

The result of this research were to follows:

1. The state of intsructional in term of instructional planning and design were moderate level, instructional mamgement media and learning resources were low level. The problem of instructional in term of instructional planning and design were highest level, Instructional management media, learning resources. The guidelines of instructional in term of instructional planning and design were highest level.

2. The developed of the Program was 5 components: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) activities and 5) measurement and evaluation. The appropriate of the Instructional Model was high level (\bar{X} = 4.25, S.D. = 0.51).

3. The results form installing the developed of Instructional Model were shown below:

3.1 After the teachers used had been learned through the Program, their learning management abilities was statistically higher than 75 percent of criterion.

3.2 The result of effectiveness of the Program shown that the teachers’s satisfaction toward the Program was at high level, had mean scores of 4.41 and the standard deviation of 0.54.

คำสำคัญ

โปรแกรม, การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน

Keyword

Program, Instructional Management using Blended Learning
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 47

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,563

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,552

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033