...
...
เผยแพร่: 30 ธ.ค. 2565
หน้า: 27-35
ประเภท: บทความวิจัย
View: 175
Download: 217
Download PDF
การศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
A Study of Self-Efficacy Affecting Innovation Creation Behavior of School Administrators under the Office of Secondary Education Service Areas in the Upper Northeastern Region
ผู้แต่ง
สรายุทธ์ สีหะวงค์, พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ และนวัตกร หอมสิน
Author
Sarayut Seehawong, PongSak Srichan and Nawattakorn Homsin

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ2) ศึกษาปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และสร้างสมการพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 169 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับการรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยหพุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเองทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเองที่สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มี 4 ตัวแปร คือ ความสามารถในการเป็นตัวแบบที่ดีให้กับผู้อื่น (X5) การประเมินความสามารถของตนเอง (X1) ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น (X2) และความสามารถในการสร้างความรู้สึกทางบวกให้กับตัวเอง (X3) โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 59.00 และมีสมการพยากรณ์ ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ \hat{Y}= .346 +.369 (X5) + .254 (X1) + .164 (X2) + .127 (X3) สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ \hat{Z} = .362 (ZX5) + .275 (ZX1) + .200 (ZX2) + .143 (ZX3)

Abstract

The purposes of this research were to 1) study the relationship between self-efficacy and innovative behavior of the school administrators under the Office of Secondary Education Service Areas in the upper northeastern region, and 2) study the factors of school administrators' self-efficacy affecting the innovative behavior of school administrators and to create a predictive equation. The sample consisted of 169 executives educational institutions under the Office of Secondary Education Service Area in the upper northeastern region selected by using simple random sampling. The research instrument was a 5-level rating scale questionnaire on self-efficacy and innovation behavior of executives. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The result were as follows: 1. All factors of self-efficacy were positively correlated with innovative behaviors of school administrators at the statistical significance level of .01. 2. There were 4 factors of self-efficacy that together predicted the innovation behavior of school administrators at the .01 level of significance, namely the ability to be a good model for others (X5), self-efficacy evaluation (X1), the ability to speak persuasively others (X2), and the ability to create a positive self-esteem (X3). The predicting power was 59.00 percent and the predictive equation was as follows: Predictive equation of raw scores: \hat{Y} = .346 +.369 (X5) + .254 (X1) + .164 (X2) + .127 (X3) Predictive equation of standard score: \hat{Z} = .362 (ZX5) + .275 (ZX1) + .200 (ZX2) + .143 (ZX3)

คำสำคัญ

การรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมสร้างนวัตกรรม

Keyword

Self-efficacy, Innovative behavior
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 33

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,725

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,714

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033