บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ 3) เปรียบเทียบการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศิลาทอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 17 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบวัดการอ่านและการเขียนภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 2 ตอน ตอนที่ 1 การอ่านออกเสียงคำ จำนวน 10 ข้อ ตอนที่ 2 เขียนตามคำบอกจำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.75/84.12 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The research aimed to 1) develop lesson plans on reading and writing in Thai based on cooperative learning and exercises to meet the efficiency criteria of 80/80, 2) compare the students’ learning achievement before and after the intervention, and 3) compare the students’ reading and writing in Thai before and after the intervention. The samples in this research were 17 Prathomsuksa 1 students at Ban Sila Thong School, who studied in the second semester of the academic year 2021. The samples were obtained through cluster random sampling using a classroom as a random unit. The research instruments were: 1) eight 16-hour lesson plans based on cooperative learning and exercises, 2) a 20-item learning achievement test with a 3-multiple choice test format comparing before and after intervention scores; and 3) a subjective test on reading and writing in Thai was divided into two parts: part 1 contained ten Thai words for reading aloud; and part 2 contained ten Thai words for dictation. The statistics for data analysis included mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test. The results revealed that: 1) Lesson plans based on cooperative learning and exercises of reading and writing in Thai for Prathomsuksa 1 had the efficiency of 86.75/84.12, which met the required criteria of 80/80, 2) The students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .05 level of significance, and 3) The students’ reading and writing in Thai after the intervention was higher than that before the intervention at the .05 level of significance.
คำสำคัญ
การอ่านและการเขียนภาษาไทย, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, แบบฝึกทักษะKeyword
Reading and Writing in Thai, Cooperative Learning, Exercisesกำลังออนไลน์: 17
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,733
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,722
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033