...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 179-186
ประเภท: บทความวิชาการ
View: 178
Download: 223
Download PDF
สมรรถนะของครู: ความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ
Teachers’ Competency: Academic English Reading and Writing Proficiency
ผู้แต่ง
อนงลักษณ์ หนูหมอก
Author
Anonglak Nhoomork

บทคัดย่อ

การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นหนึ่งในสมรรถนะหลักของครูไทยในศตวรรษที่ 21 ที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ใจความสำคัญมุ่งเน้นให้ครูเพิ่มพูนความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งในด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ อันส่งผลให้การใช้ความรู้และทักษะภาษาอังกฤษ กลายเป็นความสามารถด้านภาษาที่จำเป็นสำหรับครู ด้วยเหตุผลที่ว่า ภาษาอังกฤษใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ทางวิชาการ และนวัตกรรมด้านการศึกษาที่ทันสมัย กล่าวคือ การเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทางวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นข้อเท็จจริงที่ครูไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในโลกยุคปัจจุบัน ดังนั้น การมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่ดีจะช่วยให้ครูได้มาซึ่งข้อมูล และองค์ความรู้ที่เป็นภาษาอังกฤษเหล่านั้น เพื่อการปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการของครู อาทิเช่น การศึกษาค้นคว้า หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอคุณลักษณะของความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษในบริบททางวิชาการ ที่ผู้เขียนได้สังเคราะห์แล้วว่าเป็นการรู้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ (Academic English Literacy) เพื่อการพัฒนาสมรรถนะของครู ซึ่งประกอบด้วย 1) การอ่านเพื่อการแสวงหาข้อมูล (Reading for Information) และ 2) การเขียนเพื่อการสื่อสาร (Writing for Communication) ซึ่งมีหลักการและกลวิธี ที่ครูทุกวิชาเอกสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ในการพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Abstract

According to the Ministry of Education, one of the core competencies required by Thai teachers in the 21st century is self-improvement in both academic and professional aspects. Public policy-making maintains its influence on the application of English language knowledge and skills, which is crucial for teachers’ language proficiency. The explanation is that English is used as a communication tool to transmit information, the body of academic knowledge, and up-to-date educational innovations. Consequently, teachers in the modern world cannot dispute the importance of having access to academic resources written in English. Teachers would also benefit from having a strong command of the English language to improve their academic performance and practices, such as researching and sharing information with others.  This academic article intends to present the characteristics of academic English reading and writing proficiency that are synthesized by the author. The academic English literacy for teachers comprises 1) reading for information and 2) writing for communication, containing principles and strategies that teachers of all disciplines could utilize as key tools for improving effective self-development.

คำสำคัญ

ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ, การอ่านและการเขียน, การพัฒนาสมรรถนะครู

Keyword

Academic English Abilities, Reading and Writing, Teachers’ Competency Development
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 31

วันนี้: 402

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,137

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033