...
...
เผยแพร่: 16 ม.ค. 2561
หน้า: 191-202
ประเภท: บทความวิจัย
View: 555
Download: 216
Download PDF
การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
Development of Science Process Skills and Analytical Thinking by Using 7E Inquiry Cycle on the Topic of Ecosystem for Mathayomsuksa Three in the Learning Area of Science
ผู้แต่ง
ศรีสุวรรณ ศรีสร้อย, อนันต์ ปานศุภวัชร, ถาดทอง ปานศุภวัชร
Author
Srisuwan Srisoy, Anun Pansuppawat, Thardthong Pansuppawat

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านอูนดง ตำบลนาใน อำเภอพรรณนิคม จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 15 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที t (t-test) ชนิด Dependent Samples

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.59/76.44 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้

2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น เรื่อง ระบบนิเวศ อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop lesson plans on the topic of ecosystem for Matthayomsuksa Three students based on 7E inquiry cycle to meet the efficiency of 75/75, 2) compare the students’ science process skills before and after learning through the instructional activities based on 7E inquiry cycle, 3) compare students’ analytical thinking ability before and after learning through the instruction activities based on 7E inquiry cycle, 4) compare students’ learning achievement before and after learning through the instructional activities based on 7E inquiry cycle, and 5) examine students’ satisfaction toward learning science after the intervention. The samples, obtained through a purposive sampling technique, consisted of 15 Mathayomsuksa Three students of Banundong School, Nanai subdistrict, Pannanikom district, Sakon Nakhon province under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 2 during the first semester of academic year 2016. The instruments used for data collection comprised lesson plans based on 7E Inquiry cycle, an assessment form on science process skills, an assessment form of analytical thinking ability, a science learning achievement test, and a satisfaction questionnaire. The data analysis was done through percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).

The results were as follows:

1. The efficiency of the developed instructional activities based on 7E Inquiry cycle was 78.59/76.44, which was higher than the established requirement at 75/75.

2. The students’ science process skills after the intervention were higher than those of before the .01 level of statistical significance.

3. The students’ analytical thinking ability after the intervention was higher than that of before at the .01 level of statistical significance.

4. The students’ science learning achievement after the intervention was significantly higher than that of before at the .01 level of statistical significance.

5. The students’ satisfaction toward learning through the developed instructional activities was at the highest level.

คำสำคัญ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, การคิดวิเคราะห์, กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น

Keyword

Science Process Skills, Analytical Skills, 7E Inquiry Cycle
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 26

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,612

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,601

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033