บทคัดย่อ
นิทาน เป็นเรื่องเล่าที่แต่งขึ้นมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน สอดแทรกคติสอนใจ นิทานมี 5 ประเภท ได้แก่ 1) นิทานปรัมปรา 2) นิทานท้องถิ่น 3) นิทานเทพนิยาย 4) นิทานเรื่องสัตว์ และ 5) นิทานตลกขบขัน นิทานแต่ละประเภทสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในบริบทต่าง ๆ ตามความเหมาะสม แต่ต้องเลือกนิทานที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัยแต่ละช่วงวัย การเล่านิทานอย่างสร้างสรรค์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้นิทานมีคุณค่า มี 2 รูปแบบ คือ 1) การเล่าแบบปากเปล่า ที่จะต้องเตรียมเนื้อหาการเล่า ท่าทาง น้ำเสียงประกอบเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และ 2) การเล่าแบบมีอุปกรณ์ช่วย เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้วมือ หุ่นกระดาษ การเล่าไป วาดภาพไป การเล่าไปพับกระดาษไป เป็นการเล่าที่ทำให้เกิดความสนใจ ตื่นเต้น เกิดความเพลิดเพลินกับตัวละครและสนุกสนาน อีกทั้งนิทานเป็นสื่อสร้างสรรค์สำคัญที่นำมาใช้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน คือ 1. พัฒนาการด้านร่างกาย 2. พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ 3) พัฒนาการด้านสังคม และ 4) พัฒนาการด้านสติปัญญา โดยเฉพาะการพัฒนาทักษะทางภาษา การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน
Abstract
Tales are based on true and imaginary stories which are created for fun and morale support, which could be categorized into five types: 1) Fairy tale, 2) Legend, 3) Myth, 4) Animal tale, and 5) Jest. Each tale was able to appropriately support early childhood development across different age groups and contexts. The creative narrative telling that contributes to the quality of tales consists of two types: 1) oral storytelling, including the preparation of contents, gestures, and sounds to engage attention, 2) media storytelling, including hand puppets, finger puppets, paper puppets, drawing, and origami. The tales are important creative media for promoting early childhood development comprising four aspects: 1) physical development, 2) emotional-mental development, 3) social development, and 4) Intellectual development, especially language skills, including listening, speaking, reading, and writing.
คำสำคัญ
นิทาน, สื่อสร้างสรรค์, พัฒนาการเด็กปฐมวัยKeyword
Tales, Creative Media, Early Childhood Developmentกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 255
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,990
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033