...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 151-160
ประเภท: บทความวิจัย
View: 170
Download: 107
Download PDF
การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยใช้ภาระงาน 4CS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์
Development of Learning and Innovation Skills Using 4CS Tasks of Mathayomsuksa 4 Students at Kosumwittayasan School
ผู้แต่ง
ปุณฑริกา น้อยนนท์
Author
Puntarika Noinon

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังการเรียนโดยใช้ภาระงาน 4CS   และ 2) ศึกษาผลการสะท้อนการเรียนรู้หลังการเรียนโดยใช้ภาระงาน 4CS ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 261 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 158 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ภาระงาน 4CS จำนวน 4 แผน 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.231-0.645 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.876 และ 3) แบบสอบถามการสะท้อนการเรียนรู้ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์พัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม โดยหาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และวิเคราะห์ผล การสะท้อนการเรียนรู้ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า  1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้ภาระงาน 4CS มีพัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ในระดับสูง (DS = 61.64%)  2. ผลการสะท้อนการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ภาระงาน 4CS โดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 3.91, S.D. = 0.74) โดยสิ่งที่นักเรียนได้รับ คือ ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ได้ฝึกทักษะ 4CS สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน จุดเด่นของการเรียน คือ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ชิ้นงาน ได้ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมกันคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ได้ใช้เทคโนโลยีในการศึกษาค้นคว้าและนำเสนอผลงาน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น ได้ประเมินตนเอง ได้แสดงออก และเรียนด้วยความสนุกและมีความสุข จุดด้อย คือ เวลาในการทำงานน้อย จุดที่ควรปรับปรุง คือ ควรเพิ่มระยะเวลาการทำงานและงานเดี่ยวให้มากขึ้น ควรมีการประเมินผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และเปิดช่องทางออนไลน์ให้นักเรียนได้ซักถามและขอคำปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the development of learning and innovation skills after receiving the 4CS tasks, and 2) to examine the effects through learning reflection after the intervention. The sample of 158 participants was selected through purposive sampling from the population of 261 Mathayomsuksa 4 students at Kosum Wittayasan School in the academic year 2020. The research instruments were: 1) four lesson plans based on 4CS tasks, 2) a four-point rating scale assessment form on learning and innovation skills, with the discrimination power from .231 to .645 at the .05 level of significance and the reliability of .876, 3) a set of learning reflection questionnaires. The development of students’ learning and innovation skills was measured using the Relative Gain Score, and the learning reflection was analyzed through mean, standard deviation, and content analysis. The results revealed that: 1. The students’ learning and innovation skills after studying through the 4CS tasks increased and attained high relative gain scores (DS = 61.64%).  2. The effects of learning reflection found that the students’ satisfaction with the 4CS tasks was at a high level (\bar{x} = 3.91, S.D. = 0.74). The students reported that that they gained knowledge and understanding of the subject matter, practiced 4CS skills, improved and applied their learning and innovation skills in daily life, and had a positive attitude toward learning. The main advantages were that the 4CS tasks allowed the students to learn by doing, use creativity in producing tasks, practice group process learning, work to analyze and solve mutual problems, use technology to search for information and task presentation, share knowledge with others, foster self-assessment, express themselves, and supported students’ enjoyment and happiness while learning. One weak point of this approach included the limited amount of time allocated for completing tasks. The points that needed improvement were giving more time to complete activities and increasing individual tasks, assessing through social media, and providing online forums where students could express inquiries and receive advice at any time and from anywhere.

คำสำคัญ

ภาระงาน 4CS, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, การสะท้อนการเรียนรู้

Keyword

4CS Tasks, Learning and Innovation Skills, Learning Reflection
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 215

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,465

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033