บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัย และศึกษาพัฒนาการความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2561 จำนวน 9 คน ใช้ระยะเวลา 1 ปีการศึกษา ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ก่อนการศึกษาภาคสนาม ระยะที่ 2 ศึกษาภาคสนาม และระยะที่ 3 สรุปผลการศึกษาภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาผ่านการรวมตัวเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของนักศึกษา ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ โดยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการเสริมสร้างความสามารถในทำวิจัยของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู ผ่านวงจรแก้ปัญหา 4 ขั้นตอนย่อย แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระบุปัญหา ประกอบด้วย 1) สร้างกลุ่มชุมชน และ 2) ค้นพบปัญหา และระยะที่ 2 วงจรแก้ปัญหา ประกอบด้วย 1) วางแผนและพัฒนาตนเอง และ 2) ดำเนินการวิจัย และขั้นตอนที่ 3 สร้างกลไกการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู เพื่อให้สามารถดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ 2. นักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูที่เข้าร่วมกระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการทำวิจัยตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีพัฒนาการความสามารถในการทำวิจัยที่ดีขึ้น โดยทุกคนสามารถแก้ไขปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของตนเองได้ทุกปัญหา
Abstract
The purpose of the qualitative study was to examine the process for enhancing pre-service teachers’ abilities in conducting research based on the professional learning community. The sample group consisted of nine pre-service teachers enrolled in the Early Childhood Education Program, Faculty of Education, Nakhon Phanom University in the academic year 2018. The one-year study was conducted in three phases: Phase I: Pre-field, Phase II: In-field, and Phase III: Post-field summary. Data collection was carried out through documentary study, observation, informal interviews, and focus group discussions. The findings revealed that: 1. The process for enhancing pre-service teachers’ abilities in conducting research based on the professional learning community was the process of enhancing learning and solving problems through members of the professional learning community of pre-service teachers, cooperating teachers, and university supervisors. The developed process comprised three steps: Step I: Preparation; Step 2: Implementation Process to support pre-service teachers’ abilities in conducting research through four problem-solving cycles comprising two stages: Stage I: Problem identification consisting of 1) building a community group, and 2) problem discovery, and Stage II: Problem-solving cycles covering 1) planning and self-development, and 2) conducting research; and Step 3: Creating Ability-Enhancing Mechanisms that support pre-service teachers in performing their classroom research consistently and effectively. 2. The pre-service teachers improved their research abilities as a result of their participation in the process of developing those abilities based on the professional learning community. All pre-service teachers were able to contribute distinctive solutions to each problem in their classroom research.
คำสำคัญ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การวิจัยในชั้นเรียน, นักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูKeyword
Professional Learning Community, Classroom Research, Pre-Service Teachersกำลังออนไลน์: 35
วันนี้: 244
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,979
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033