บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาพัฒนาการของทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต ผลการประเมินความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 คะแนน อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.77 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการ และการทดสอบค่า t (T-Test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีคะแนนพัฒนาการของ เท่ากับ 44.77 อยู่ในระดับกลาง และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการจัดการเรียนรู้`ที่พัฒนาขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.54 อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop the mathematical problem-solving skills of Prathomsuksa 6 students who learned through the learning management on Geometric Transformation based on problem-based learning, 2) to examine the development of the students’ mathematical problem-solving skills on geometric transformation, and 3) to examine the student satisfaction with the learning management based on the problem-based learning. The sample, selected through cluster random sampling, consisted of 27 Mathayosuksa students from class 2/7 studying in the first semester of the academic year 2021 at Kanchanapisekwittayalai Suphanburi School. The research instruments were: 1) lesson plans on Geometric Transformation constructed using problem-based learning with a mean score of 4.77, indicating the highest level of appropriateness, 2) a test of students’ problem-solving skills with the reliability of 0.77, and 3) a student satisfaction form with the developed learning management. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, growth scores, and t-test for Dependent Samples. The research results revealed that: 1) The students’ mathematical problem-solving skills after the intervention were higher than those before the intervention at the .01 level of significance, 2) The students’ mathematical problem-solving skills reached growth scores of 44.77, indicating a medium level, and 3) The students’ satisfaction toward the developed learning management was at the highest level ( = 4.54).
คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์Keyword
Problem-Based Learning, Mathematical Problem Solving Skillsกำลังออนไลน์: 27
วันนี้: 272
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,007
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033