...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 101-113
ประเภท: บทความวิจัย
View: 149
Download: 216
Download PDF
ผลของการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
The Effects of Learning Management Based on Constructivist Theory with The STAR Strategy on Mathematics Learning Achievement and Mathematical Problem-Solving Ability of Mathayomsuksa 2 Students
ผู้แต่ง
ภัทรพร คล้ายสมบูรณ์, คมสัน ตรีไพบูลย์ และอาพันธ์ชนิต เจนจิต
Author
Pattaraporn Klaysomboon, Komsan Treepiboon and Apunchanit Jenjit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (one-sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกลวิธี STAR สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were to compare the mathematics learning achievement and mathematical problem-solving ability of Mathayomsuksa 2 students after being taught through learning management based on a constructivist theory with the STAR strategy. The subjects of this study, obtained through cluster random sampling, were 41 Mathayomsuksa students from class 2/2 in the second semester of the 2021 academic year at Bansuan (Jananusorn) School. The instruments consisted of, 1) three lesson plans based on a constructivist theory with the STAR strategy on the topic of Pythagoras Theorem, and 2) a mathematics achievement test, and 3)a mathematical problem-solving ability test on Pythagoras Theorem with the reliability of .81. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, and one-sample t-test. The findings were as follows: 1. The students’ mathematics learning achievement after the intervention was higher than the 70 percent criterion at the .05 level of significance.  2. The students’ mathematical problem-solving ability after the intervention was higher than the 70 percent criterion at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, กลวิธี STAR, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

Keyword

Constructivist Theory, The STAR Strategy, Mathematics Learning Achievement, Mathematical Problem-Solving Ability
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 35

วันนี้: 348

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,083

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033