...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 89-100
ประเภท: บทความวิจัย
View: 382
Download: 142
Download PDF
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Development of Science Learning Activity Packages Using GPAS 5 Steps Process with Resource-Based Learning to Enhance Creative Problem-Solving Thinking for Mathayomsuksa 3 Students
ผู้แต่ง
ศศิกานต์ หลวงนุช และชนสิทธิ์ สิทธิสูงเนิน
Author
Sasikarn Loungnuch and Chanasith Sithsungnoen

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาและหาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 4.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4.2) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 4.3) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 4.4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 5) แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ และ 6) แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่า t แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการกลุ่ม โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน มีการวัดผลและประเมินผลให้ครอบคลุมพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยใช้เครื่องมือวัดผลหลายรูปแบบ  2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (\bar{x} = 4.60, S.D. = 0.14) ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 นักสืบไทรโยค กิจกรรมที่ 2 ระบบนิเวศไทรโยค กิจกรรมที่ 3 วัฏจักรไทรโยค และกิจกรรมที่ 4 ชุมชนในฝัน แต่ละชุดกิจกรรมประกอบด้วย 1) ชื่อกิจกรรม 2) คำนำ 3) คู่มือการใช้ 4) คำชี้แจงสำหรับครูผู้สอน 5) คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 6) สาระสำคัญ/จุดประสงค์ 7) กิจกรรมการเรียนรู้ 8) แผนการจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการเรียนรู้ GPAS 5 steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน ประกอบด้วย (1) ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (2) ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ (3) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (4) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ และ (5) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ 9) แหล่งเรียนรู้ 10) ใบความรู้/ใบกิจกรรม และ 11) แบบทดสอบ 3. ผลการประเมินการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 3.1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3.2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีมาก (\bar{x} = 3.51, S.D. = 0.53) 3.3) นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4 .22, S.D. = 0.66) และ 3.4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.41, S.D. = 0.62)

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the fundamental data for developing the science learning activity packages using GPAS 5 steps with resource-based learning to enhance creative problem-solving thinking for Mathayomsuksa 3 students, 2) to develop and evaluate the quality of the developed learning activity packages, 3) to implement the developed learning activity packages, and 4) to examine the efficiency of the developed learning activity packages through 4.1) students’ learning achievement, 4.2) students’ creative problem-solving thinking abilities, 4.3) students’ scientific minds, and 4.4) students’ opinions toward the learning activity packages after the intervention. This research employed Research and Development with the target group of 18 Mathayomsuksa 3 students in the first semester of the 2021 academic year at Saiyokyai School. The research instruments included 1) the science learning activity packages, 2) lesson plans, 3) a learning achievement test, 4) an assessment form for students’ creative problem-solving thinking abilities, 5) an assessment form for students’ scientific minds, and 6) an assessment form for students’ opinions toward the learning activity packages, Statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples. The findings were as follows: 1.   The fundamental data examination revealed that students and stakeholders required the developed learning activity packages emphasizing students’ learning by doing, information seeking, using a group process integrated with community learning resources, having measurement and evaluation that covered cognitive, psycho-motor, and affective domains, and using different evaluation models. 2. The developed learning activity packages which were rated at a very good level (\bar{x} = 4.60, S.D. = 0.14) covered four activities: Activity 1- Saiyok Detectives, Activity 2- Saiyok Ecosystem, Activity 3- Saiyok Cycles, and Activity 4- Dream Communities. Each learning activity package comprised 1) a title, 2) a preface, 3) a users’ manual, 4) an instruction for teachers, 5) an instruction for students, 6) contents/objectives, 7) learning activities, 8) lesson plans based on the GPAS 5 steps with resource-based learning consisted of (1) Gathering, (2) Processing, (3) Applying and Constructing Knowledge, (4) Applying Communication Skill, (5) Self-Regulating, 9) learning resources, and 10) handouts/ worksheets, and 11) an achievement test. 3. The effects after the intervention revealed that 3.1) the students’ learning achievement after the intervention was higher than that before the intervention at the .01 level of significance, 3.2) the students’ creative problem-solving thinking abilities were at a very good level (\bar{x} = 3.51, S.D. = 0.53), 3.3) the students’ scientific minds were at a high level (\bar{x} = 4.22, S.D. = 0.66), and 3.4) the students’ opinions toward the developed learning activity packages were overall at a  high level (\bar{x} = 4.41, S.D. = 0.62).

คำสำคัญ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ GPAS 5 Steps, การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, จิตวิทยาศาสตร์

Keyword

Learning Activity Packages, GPAS 5 Steps, Creative Problem-Solving Thinking Ability, Scientific Minds
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 11

วันนี้: 165

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,415

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033