...
...
เผยแพร่: 31 ส.ค. 2565
หน้า: 79-87
ประเภท: บทความวิจัย
View: 87
Download: 68
Download PDF
แนวโน้มความต้องการของผู้ใช้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
Trends in Needs of Stakeholders for Graduates of the Bachelor of Arts Program in Communicative Thai Language for Foreigners (International Curriculum) Revised Curriculum B.E. 2560
ผู้แต่ง
รุจิรา เส้งเนตร, ดีอนา คาซา, นพวรรณ สังข์ห่อ และพัชราพรรณ กะตากูล
Author
Rujira Sengnet, Deeana Kasa, Noppawan Sunghor and Patcharapan Katakool

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 และ 2) ศึกษาแนวโน้มความต้องการของผู้ใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิต อาจารย์ประจำภาควิชา อาจารย์ผู้สอนและผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 79 คน ซึ่งคณะผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ประมวลผลเพื่อหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้หลักสูตรมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ในระดับมากที่สุด (\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.37) และ 2) ผู้ใช้หลักสูตรมีแนวโน้มความต้องการในประเด็นต่อไปนี้ 1) การปรับปรุงรายวิชาให้เหมาะสมกับระดับทักษะทางภาษาไทยของนิสิต 2) การปรับรูปแบบการสอนโดยเน้นการประยุกต์ใช้ 3) การปรับแผนการเรียนโดยกำหนดชั้นปีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 4) การเปิดรายวิชาเสริมทักษะทางภาษาไทยเพิ่ม และ 5) การเปิดกว้างให้นิสิตสามารถเลือกเรียนรายวิชาโทได้หลากหลาย นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการปลูกฝังเรื่องวัฒนธรรมองค์กรก็มีความสำคัญเช่นกัน

Abstract

The objectives of this paper were 1) to evaluate the curriculum stakeholders’ satisfaction with the Bachelor of Arts Program in Communicative Thai Language for Foreigners (International Curriculum) Revised Curriculum B.E. 2560), and 2) to study the trends of the curriculum stakeholders’ needs. The sample, obtained through purposive sampling, consisted of students, program lecturers, lecturers, and employers, yielding a total of 79 participants. The research instruments for data collection were a set of questionnaires and interview forms. Statistics were percentage,  mean and standard deviation. The results revealed that 1) the curriculum stakeholders were satisfied with the developed program at the highest level (\bar{x} = 4.27, S.D. = 0.37), and 2) the curriculum stakeholders reflected their needs in terms of 1) a course revision to suit the students’ Thai language proficiency level, 2) instructional models focusing on the knowledge application, 3) appropriately adjusting the study plan at each year level, 4) offering additional courses to strengthen Thai language skills, and 5) providing a wide range of minors. In addition, the curriculum stakeholders reported their needs and reached an agreement on prioritizing creative thinking, information technology use, and the cultivation of cultural organization.

คำสำคัญ

ผู้ใช้หลักสูตร, ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ

Keyword

Curriculum Stakeholders, Communicative Thai Language for Foreigners
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 6

วันนี้: 327

เมื่อวานนี้: 442

จำนวนครั้งการเข้าชม: 802,577

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033