บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการสำหรับนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการของนักศึกษา ระหว่างก่อนและหลังการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ 3) เปรียบเทียบทักษะการเขียนหนังสือราชการของนักศึกษา ระหว่างก่อนและหลังการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ 2) แบบทดสอบความรู้ทักษะการเขียนหนังสือราชการ 3) แบบประเมินทักษะการเขียนหนังสือราชการ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน (Dependent samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 95.66/91.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ความรู้เกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการของนักศึกษาหลังการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ทักษะการเขียนหนังสือราชการของนักศึกษาหลังการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ สูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการอบรมด้วยชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, S.D. = 0.37)
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop learning packages for improving skills in writing official letters for undergraduate education students at the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University to achieve the efficiency criteria of 80/80, 2) compare students’ knowledge about writing official letters before and after training through the learning packages for improving skills in writing official letters, 3) compare students’ skills in writing official letters before and after training through the learning packages for improving skills in writing official letters, and 4) examine students’ satisfaction toward a training through the learning packages for improving skills in writing official letters. The samples, obtained through cluster random sampling, consisted of 30 students on their 4th year Education students majoring in Thai Language at the Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University. The research instruments were: 1) Learning packages for improve skills in writing official letters, 2) a test of knowledge about writing official letters, 3) an assessment form in official letter-writing skills, and 4) a satisfaction assessment form. The statistics for data analysis were percentage, means, standard deviation and dependent samples t-test. The findings were as follows: 1) The developed learning packages for improving skills in writing official letters achieved the efficiency of 95.66/91.58, which was higher than the established criteria of 80/80, 2) students’ knowledge about writing official letters after the training was higher than that of before at the .01 level of significance, 3) students’ skills in writing official letters after the training was higher than those of before at the .01 level of significance, and 4) students’ satisfaction toward the training using the developed training packages reached a mean score at the highest level of 4.83 with standard deviation of 0.37.
คำสำคัญ
ชุดฝึกเสริมทักษะการเขียนหนังสือราชการ, ทักษะการเขียนหนังสือราชการKeyword
Training packages for improving official letter-writing skills, Official letter-writing skillsกำลังออนไลน์: 32
วันนี้: 418
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,153
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033