...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2565
หน้า: 135-142
ประเภท: บทความวิจัย
View: 327
Download: 235
Download PDF
การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล
Development of Reading and Spelling Skills for Mathayomsuksa 1 Students Using the Individual Diagnostic Exercises
ผู้แต่ง
ขวัญนภา บุญนิธี และทรงภพ ขุนมธุรส
Author
Khwannapha Boonnitee and Songphop Khunmathurot

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคลองน้ำโจน อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 แผน 2) แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด และ 3) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านสะกดคำ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples) และ t-test One Sample ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The objectives of this study were to 1) compare students’ reading and spelling skills before and after learning through individual diagnostic exercises, and 2) compare students’ reading and spelling skills after the intervention to the criteria of 70 percent. The sample group, obtained through a purposing sampling, consisted of five students from Prathomsuksa 1 in the second semester of the academic year 2020 at Ban Khlong Nam Chon School, Mae Wong District, Nakhon Sawan Province. The tools included 1) ten learning plans for Prathomsuksa 1 students in Thai learning subject groups, 2) five volumes of individual diagnosis exercises for Prathomsuksa 1students, and 3) a 20-item reading and spelling test. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test for Dependent Samples, and one-sample t-test. The results of the research were as follows: 1. The comparative results revealed that students’ reading and spelling skills before and after the intervention were higher than before the intervention at the .05 level of significance. 2. The comparative results revealed that students’ reading and spelling skills before and after the intervention were higher than the defined criteria when compared to the 70 percent criteria at the .05 level of significance.

คำสำคัญ

การพัฒนาทักษะด้านการอ่าน, การอ่านสะกดคำ, แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล

Keyword

Reading and Spelling Development, Reading and Spelling skills, Individual Diagnostic Exercises
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 30

วันนี้: 425

เมื่อวานนี้: 1,746

จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,160

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033