บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 20 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการพัฒนาทักษะชีวิต มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .962 2) แผนการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 10 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยว่า 1. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีทักษะชีวิตด้านทักษะการติดต่อสื่อสาร ทักษะการปฏิเสธและเจรจาต่อรอง ทักษะการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ทักษะการให้ความร่วมมือ ทักษะการเห็นอกเห็นใจบุคคลอื่น ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการจัดการความเครียด ทักษะการเผชิญความโกรธ และทักษะการควบคุม ดูแลตนเอง หลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกทักษะชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มีทักษะชีวิตในภาพรวมหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
The purpose of this research was to examine the effects of using group activities to develop the life skills of undergraduate students at the Faculty of Education, Rajabhat Rajanagarindra University. The sample group, obtained through purposive sampling, consisted of 20fourth-year undergraduate students majoring in Early Childhood Education at the Faculty of Education, Rajabhat Rajanagarindra University. The research instruments were: 1) a set of questionnaires centering on life skills development with the reliability of 0.962, and 2) ten lesson plans based on group activities. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Dependent Samples t-test. The research results were as follows: 1. The level of undergraduate students’ life skills, namely communication skills, refuse and negotiation skills, assertive skills, cooperative skills, empathetic skills, decision-making skills, stress-management skills, anger-coping skills, and self-monitoring skills, was higher than that of before the intervention with the .05 level of significance. 2. The level of undergraduate students’ life skills overall was higher than that of before the intervention with the .05 level of significance.
คำสำคัญ
ทักษะชีวิต, กิจกรรมกลุ่มKeyword
Life Skills, Group Activitiesกำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 8
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,743
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033