บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังความคิดตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียน ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร เขต 41 จำนวน 44 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังความคิดตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.68/82.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.82, S.D. = 0.39)
Abstract
The purposes of this research were: 1) to determine the effectiveness of the lesson plans on reading comprehension using KWL plus technique with mind mapping based on brain-based concepts for Mathayomsuksa 2 students to meet the criteria of 80/80, 2) to compare students’ learning achievement in terms of reading comprehension before and after the intervention, and 3) to examine students’ satisfaction toward the developed instructional management. The sample, obtained through cluster random sampling, consisted of Mathayomsuksa 2/10 students in the second semester of the academic year 2020 at Taphanhin School, Taphanhin district, Phichit Province under Phichit Secondary Educational Service Area Office 41, yielding a total of 44 participants. A One Group Pretest-Posttest Design. The research instruments were five lesson plans with 12 hours, 2) a test of reading for comprehension, and 3) a questionnaire to measure student satisfaction toward the developed instructional management. Statistics were percentage, mean, standard deviation, and t-test for Dependent Samples. The research findings were as follows: 1) The developed instructional management on reading comprehension using KWL plus technique with mind mapping based on brain-based concepts had an efficiency of 84.68/82.90, which was higher than the specified criteria of 80/80, 2) The students’ reading comprehension after the intervention was higher than that of before the intervention at the .05 level of significance, and 3) The student satisfaction toward the developed instructional management was at the highest level ( = 4.82, S.D. = 0.39).
คำสำคัญ
การอ่านจับใจความ, เทคนิคการสอนอ่าน KWL Plus, แผนผังความคิด, แนวคิดสมองเป็นฐานKeyword
Reading Comprehension, KWL Plus Technique, Mind Mapping, Brain-Based Learningกำลังออนไลน์: 26
วันนี้: 383
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,118
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033