บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อนิทานเพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษา ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5–6 ปี) 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการใช้สื่อนิทาน 3) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 และ4) เปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังได้รับประสบการณ์ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 2 “เชิงชุมอนุชนวิทยา” ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ จำนวน 40 แผน 3) แบบทดสอบทักษะทางภาษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test ชนิด Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐาน พบว่าการจัดประสบการณ์เสริมสร้างทักษะทางภาษาควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยภาษา ให้เด็กมีโอกาสเล่นและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครู และมีสื่อนิทานที่ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง มีแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา ให้เด็กเลือกเล่นและทำกิจกรรมที่ตนสนใจ และให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีความหมาย 2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งมีกระบวนการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม กระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 การพัฒนาทักษะทางภาษาด้วยนิทาน ขั้นที่ 3 การทำอย่างประณีต ฝึกทักษะทางภาษา ขั้นที่ 4 การพัฒนาความจำ ทักษะทางภาษา ขั้นที่ 5 การบูรณาการ ประยุกต์ใช้ภาษา 3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.92/82.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 4. ทักษะทางภาษาของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The research aimed: 1) to examine the basic data on the development of an experiential learning model based on brain-based learning together with tales for improving language skills among the third-year kindergarten students (5-6 years old), 2) to develop an experiential learning model based on brain-based learning together with tales, 3) to determine an efficiency index of the developed experiential learning model to meet the specified criteria of 80/80, and 4) to compare the language skills of the students before and after the intervention. The sample, selected through cluster random sampling, consisted of 21 third-year kindergarten students from class 3/1 at Municipal School 2 “Choengchum Anuchon Witthaya”, who were enrolled in the first semester of the academic year 2020. The tools used in this research comprised: 1) the developed experiential learning model, 2) 40 learning experience plans, 3) a test of language skills. Statistics were mean, standard deviation and t-test for Dependent Samples. The findings were as follows: 1. The basic data revealed that learning experience management for enhancing language skills should provide a language environment with opportunities for children to play and interact with friends, teachers, and tales as learning media for direct experience and as good examples in language usage. Children should be allowed to play and do activities that interest them and be involved in meaningful activities. 2. The developed learning experience model comprised: 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) processes, and 5) measurement and evaluation. The learning experience process consisted of five steps: step 1 – readiness preparation and stimulation, step 2 – developing language skills with tales, step 3 – elaborating the language skill training, step 4 – developing memory and language skills, step 5 – integrating and applying the language usage. 3. The developed learning experience model had an efficiency index of 81.92/82.14, which was higher than the set criteria of 80/80. 4. The third-year kindergarten students’ language skills after the intervention were higher than those of before the intervention at the .01 level of significance.
คำสำคัญ
รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้, สมองเป็นฐาน, สื่อนิทาน, ทักษะทางภาษาKeyword
Learning Experience Model, Brain-Based Learning, Tales Learning Media, Language Skillsกำลังออนไลน์: 30
วันนี้: 410
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,145
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033