บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษสำหรับโรงเรียนคุณธรรม และ 2) พัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนคุณธรรม การวิจัยมี 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนคุณธรรม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 7 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 35 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย เป็นครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านหนองบ่อ โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลและร่วมพัฒนาหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยมี 3 ชุด ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจสภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษของโรงเรียนคุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชา และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนคุณธรรมทุกโรงเรียนอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ในส่วนของรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้การเพิ่มเวลาเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ระดับชั้นละ 200 ชั่วโมงต่อปี และพบว่าครูผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง ครูส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาด้วยตนเอง จะเป็นเพียงผู้ใช้หลักสูตรระดับชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษจะยึดตามหนังสือแบบเรียน และมีการนำ DLTV มาบูรณาการในบางครั้ง ครูผู้สอนต้องการได้รับความรู้ในการพัฒนาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยจัดทำเป็นรายวิชา/กิจกรรมเพิ่มเติมตามความเหมาะสม สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น และบริบทของโรงเรียนที่มีกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน รวมถึงการเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษในหลักสูตรสถานศึกษา 2. หลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ประกอบด้วย 6 รหัสวิชา แต่ละรหัสวิชา มี 11 องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) วิสัยทัศน์หลักสูตร 2) ความเป็นมาและความสำคัญ 3) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 6) คำอธิบายรายวิชา 7) โครงสร้างรายวิชา 8) หน่วยการเรียนรู้ 9) แนวการจัดการเรียนรู้ 10) แนวการวัดและประเมินผล และ 11) การจัดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ผลการประเมินหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า องค์ประกอบของหลักสูตรในภาพรวมทุกรายวิชามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.49) 3. ความพึงพอใจของครูต่อหลักสูตรรายวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.81, S.D. = 0.39)
Abstract
The objectives of this research were: 1) to examine conditions, problems and needs for developing an additional English course curriculum at Prathomsuksa level in Moral Schools, and 2) to develop an additional English course curriculum at Prathomsuksa level in Moral Schools. The research consisted of two stages as follows: Stage 1 Investigation of fundamental data. The samples, obtained through a purposive sampling, were 35 English language teachers teaching at a Prathomsuksa level from seven Moral Schools in Udonthani Province. Stage 2 Curriculum development. The target group consisted of English language teachers teaching at Prathomsuksa 1 to 6 levels at Bannongbor School, as key informants, and curriculum co-creators. The three research instruments included: 1) a survey on conditions, problems and needs for developing an additional English course curriculum in Moral Schools, and relevant curriculum development, 2) an appropriate assessment form of an additional English course curriculum, and 3) a teacher satisfaction survey toward the developed additional English course curriculum. The statistics for data analysis were mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. The moral schools have been in the process for developing school curriculum. One of the findings through this study was that the participating teachers reported their knowledge about curriculum development at a moderate level. Most teachers have never developed a course curriculum, but rather, followed the curriculum provided by schools. The English learning management was based on textbooks and sometimes DLTV integration. Teachers also expressed the need for developing knowledge about constructing an additional English course curriculum to create appropriate additional courses or activities to be in line with local resources and school contexts of farm school programs. 2. The additional English course curriculum consisted of six subject codes with 11 components: 1) vision, 2) background and significance of the study, 3) learners’ key competencies, 4) desirable characteristics, 5) learning areas and standards, 6) course description, 7) course syllabus, 8) learning units, 9) learning activities, 10) measurement and evaluation, and 11) media and learning resources. The assessment results from the experts in terms of curriculum components revealed that the curriculum components of all subjects were overall at the highest level of appropriateness ( = 4.63, S.D. = 0.49). 3. The teachers’ satisfaction toward the additional English course curriculum was overall at the highest level ( = 4.81, S.D. = 0.39).
คำสำคัญ
การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ, โรงเรียนคุณธรรมKeyword
Curriculum Development, Additional English Course Curriculum, Moral Schoolsกำลังออนไลน์: 24
วันนี้: 434
เมื่อวานนี้: 1,746
จำนวนครั้งการเข้าชม: 970,169
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033