บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องกำหนดการเชิงเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 34 คน แบบแผนการวิจัยใช้แบบ One–Group Pretest–Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.98/83.95 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of the research were to: 1) develop mathematical learning activities using mathematical modelling for mathematics with the efficiency criterion of 75/75, 2) compare mathematical problem solving abilities between before learning and after learning with mathematical modelling entitled “Linear Programming” among Mathayom Suksa 5 students, 3) compare mathematical reasoning abilities between before learning and after learning using the developed mathematical modelling among Mathayom Suksa 5 students and 4) compare attitude toward mathematics between before learning and after learning using the developed mathematical modelling.
The sample comprised 34 Mathayom Suksa 5 students, in the first semester of academic year 2013, from Bankhapittayakom School under the Office of Secondary Educational Service Area 22, Si Songkhram District, Nakhon Phanom Province. The One-Group Pretest–Posttest design was employed and the statistics used to analyze the data was t-test (Dependent Samples).
The results were as follows:
1. The efficiency of the mathematical learning activities using mathematical modelling for Mathayom Suksa 5, developed by the researcher, was 83.98/83.95 which was higher than the set criterion.
2. The mathematical problem solving abilities of Mathayom Suksa 5 students after learning through the learning activities using the developed mathematical modelling were higher than before learning at level of .01 significance. 3. The mathematical reasoning abilities of the students after learning through the learning activities using the developed mathematical modelling were higher than before at the level of .01 significance.
4. The attitude of the students towards mathematics after learning through the developed mathematical modelling was higher than before learning at the .01 level of significance.
คำสำคัญ
กระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้เหตุผล, กำหนดการเชิงเส้น, เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์Keyword
Mathematical Modelling, Problem Solving Abilities, Reasoning Abilities, Linear Programming, Attitude towards Mathematicsกำลังออนไลน์: 63
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 1,416
จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,405
อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033
บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์
โทร: 0-4297-0033