...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2557
หน้า: 225-236
ประเภท: บทความวิจัย
View: 670
Download: 214
การพัฒนาแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of Basic Takraw Skill Drills by Applying Davies’ Instructional Model of Psychomotor Domain for Prathom Suksa 3 Students
ผู้แต่ง
เอนก ทอนฮามแก้ว, พรเทพ เสถียรนพเก้า2, ประยูร บุญใช้
Author
Aneke Thonhamkaew, Pornthep Sathiannophakao, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน  โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน  3) เปรียบเทียบทักษะตะกร้อพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน  4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านอากาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ดำเนินการวิจัยใช้แผนการวิจัยแบบ One Group Pretest–posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ Dependent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  แบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.93/84.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75/75

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.  ทักษะตะกร้อพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this study were: 1) to develop basic takraw skill drills by applying Davies’ instructional model of psychomotor domain for Prathom Suksa 3 students leading to efficiency of the 75/75 criterion, 2) to compare learning achievements of Prathom Suksa 3 students between before and after the use of basic Takraw skill drills, 3) to compare basic takraw skils of Prathom Suksa 3 students between before and after the use of basic takraw skill drills, and 4) to examine satisfaction of learning with basic takraw skill drills among Prathom Suksa 3 students.  A sample used consisted of 40 Prathom Suksa 3/1 students enrolled in the first semester of academic year 2013 in Ban Akat School, Office of Sakon Nakhon Primary Education Service Area 3, who were selected by cluster random sampling based on the class units.  The one group pretest-posttest design was employed for study.  Statistics used to analyze and compare the data were percentage, mean, standard deviation, and t-test of dependent samples.

The findings of study were as follows:

1. The developed basic takraw skill drills by applying Davies’ instructional model of psychomotor domain for Prathom Suksa 3 students had efficiency of 83.93/84.06, which was higher than the criterion set at 75/75.

2. Learning achievement of Prathom Suksa 3 students after learning with basic takraw skill drills by applying Davies’ instructional model of psychomotor domain was significantly higher than that before learning at the .01 level.

3. Basic takraw skills of Prathom Suksa 3 students after learning with basic takraw skill drills by applying Davies’ instructional model of psychomotor domain was significantly higher than that before learning at the .01 level.

4. Students’ satisfaction of learning with basic takraw skill drills by applying Davies’ instructional model of psychomotor domain had an average score of 4.71, which was at the highest level.

คำสำคัญ

แบบฝึกทักษะตะกร้อพื้นฐาน, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์

Keyword

Basic Takraw Skill Drills, Davies’ Instructional Model of Psychomotor Domain
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,255

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,244

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033