...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2557
หน้า: 145-156
ประเภท: บทความวิจัย
View: 210
Download: 214
การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี เรื่อง ข้าวเม่าอ่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคอนศรีบะสะแบง สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Development of Additional Subject Curriculum in the Learning substance group of Career and technology on Khaomao Orn for Pathom suksa 6 at Bankhonsri Basabang School under the Sakon Nakhon Primary Educational service area office 3
ผู้แต่ง
มะลิ สุขสำราญ, อุษา ปราบหงษ์
Author
Mali Suksumran, Usa Prabhong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ข้าวเม่าอ่อน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนบ้านคอนศรีบะสะแบง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นโดยศึกษาด้านต่างๆ ดังนี้  2.1) ศึกษาประสิทธิภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80  2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  2.3) ศึกษาทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม  2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านคอนศรีบะสะแบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน  แบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพของหลักสูตร  E1/E2  และทดสอบค่าที (t-test)

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้  1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  2) พัฒนาหลักสูตร  3) ทดลองใช้หลักสูตร  4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตร

ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ข้าวเม่าอ่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคอนศรีบะสะแบง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  สรุปได้ดังนี้

1. ผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ข้าวเม่าอ่อน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านคอนศรีบะสะแบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3  โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรที่สร้างขึ้นพบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุดสามารถนำไปใช้ได้

2. ผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ข้าวเม่าอ่อน ที่สร้างขึ้นพบว่า 2.1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ 92.31/84.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01  2.3) ทักษะปฏิบัติงานของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับร้อยละ  95.83  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือร้อยละ 80  2.4) ความพึงพอใจของนักเรียนหลังใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่สร้างขึ้น พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this research were : 1) to develop the additional subject curriculum The Substance learning Work Occupation Group and Technology on the topic khaomao oon for Pathomsuksa 6 at BanKhonsri Basabang School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Office Area 3 2) to evaluate the curriculum developed by 2.1) investigating efficiency of the curriculum on the basis of 80/80 2.2) comparing learning achievement of students between earlier and back studied in the additional subject curriculum of Occupations and Technology on the topic khaomao oon 2.3) investigating practical skills of students who studied in this curriculum 2.4) to study student’s satisfaction towards learning on additional subject curriculum.

The sample group purposively selected 18 students of Pathomsuksa 6 in the second semester of academic year 2012 at BanKhonsri Basabang School under Sakon Nakhon Primary Educational Service office Area 3 selected by purposive sampling.

The instruments of this study included : 1) an achievement test 2) the practical skills test 3) scale on saticfaction. The datas were analyzed by percentage, mean, standard deviation, efficiency of learning package (E1/E2).

The research procedure proceeded under the concepts curriculum development procedure as follows : 1) analysis of curriculum foundation, 2) curriculum construction, 3) curriculum implementation, and 4) curriculum evaluation and improvement.

The results of this research were that :

1. The development additional subject curriculum The Substance learning Work Occupation Group and Technology on the topic khaomao oon for Pathomsuksa 6 at BanKhonsri Basabang school under Sakon Nakhon Primary Educational Service Office Area 3 evaluated by experts revealed that the curriculum and supplementary materials were appropriate to be used.

2. It was found that development of additional subject curriculum on the topic Khaomao oon were as follows : 2.1) the efficiency of additional subject curriculum was higher than criteria of 80/80 the basis set at the beginning (92.31/84.03). 2.2) the students’ learning achievement was higher than that before the treatment by this curriculum with the significant difference at the .01 level, 2.3) the practical skills of the students who studied in the curriculum which developed were higher than the criteria of 80 percent set at the beginning, that is, 95.83 percent and 2.4) the student’s satisfaction of learning on additional subject curriculum is highest level.

คำสำคัญ

หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม, ข้าวเม่าอ่อน

Keyword

Additional subject curriculum, Khaomao Orn
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 60

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,340

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,329

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033