...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2557
หน้า: 49-60
ประเภท: บทความวิจัย
View: 196
Download: 214
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาพสามมิติ และภาพฉาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Development of a Learning Unit on Backward Design Emphasizing on Practical Skills Entitled “3-Dimension Pictures and Animation” in the Learning Substance of Career and Technology for Mathayom suksa 2
ผู้แต่ง
บุญรัตน์ สุนันธรรม, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์, ประยูร บุญใช้
Author
Boonrat Sunantham, Bhumbhong Jomhongbhibhat, Prayoon Boonchai

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่องภาพสามมิติและภาพฉาย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2 )  เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบะฮีวิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน  30  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบประเมินทักษะปฏิบัติงาน  แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า t – test (Dependent Samples) 

ผลการวิจัยพบว่า

1.  หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติเรื่องภาพสามมิติและภาพฉาย ใช้เวลาเรียน  18  ชั่วโมง องค์ประกอบของหน่วยได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ คำถามสำคัญสำหรับการเรียนรู้ ชิ้นงาน/ภาระงาน การประเมินผล และการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติ  5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นนำ  2) ขั้นสาธิตให้เห็นภาพรวม  3)  ขั้นวิเคราะห์งาน  4) ขั้นลงมือปฏิบัติ 5) ขั้นประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขสรุป

2.  ประสิทธิภาพของหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติเรื่องภาพสามมิติและภาพฉาย มีประสิทธิภาพ 87.29/88.52 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

3.  ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติเรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉายกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติเรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉายกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5.  นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับที่เน้นทักษะปฏิบัติเรื่อง ภาพสามมิติและภาพฉาย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับ มาก

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop and study the efficiency of a  Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical  skills  entitled “3-Dimension Pictures and Animation” on the basis of the criterion of 80/80 ,2) to compare the practical skills of the students before and after learning with instructional activities  using a Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical  skills  entitled “3-Dimension Pictures and Animation” in the learning substance of Career and Technology for Mathayom Suksa 2 students ,3) to compare the learning achievement of the students before and after learning with the instructional activities  using a  Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical  skills  entitled “3-Dimension Pictures  and Animation” in the learning substance of Career and technology for Mathayom Suksa 2 students ,and 4) to study the students’ attitude toward the instructional activities  using   Learning Unit on Backward Design  emphasizing on practical  skills  entitled “3-Dimension Pictures  and Animation” in the learning substances of Career and technology for Mathaym Suksa 2 students. The sampling group was 30 of Mathayom Suksa 2 students in Bahiwittayakom School under Secondary Educational Service Area Office 23. The instruments used in this research were: 1) the learning achievement test, 2) the practical skills test,and 3) the attitude test for the students who had learnt with the instructional activities using the Backward Design learning unit. Statistics used were mean, percentage, standard diviasion, and t-test (Dependent Samples).

The findings were as follows:

1. The Learning Unit on Backward Design Emphasizing on practical skills entitled “3-Dimension Pictures and Animation,” 18 hours for learning, consisted of learning standards, indicators, essential questions to learn, tasks, assessments, and  5 steps of learning experience emphasizing on practical skills; 1) Presentation 2) Demonstration 3) Task Analysis 4) Practice 5) Assessment and Summarization.

2. The efficiency criteria of the Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical skills  entitled “3-Dimension Pictures and Animation” was 87.29/88.53 which was higher than the basis of 80/80 criterion.

3. The students’ practical skills after learning with the Learning Unit on Backward Design  emphasizing on practical skills entitled “3-Dimension Pictures and Animation” in the learning substance of Career and Technology for Mathayom Suksa 2 students was higher than before at the level of .01 significance.

4.  The students’ learning a chievements after learning through the Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical  skills entitled “3-Dimension Pictures and Animation” were higher  than before at the .01 level of significance.

5.  The students’ attitude toward the Learning Unit on Backward Design emphasizing on practical skills entitled “3-Dimension Pictures and Animation” in the learning substance of Career and Technology for Mathayom Suksa 2 students after learning was at the high level.

คำสำคัญ

หน่วยการเรียนรู้, แบบย้อนกลับ, ทักษะปฏิบัติ

Keyword

Learning unit, Backward Design, Practical skills
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 26

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,274

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,263

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033