...
...
เผยแพร่: 30 เม.ย. 2557
หน้า: 37-47
ประเภท: บทความวิจัย
View: 186
Download: 214
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Development of School Curriculum on Additional course Entitled “Thai Yoi Wanon Niwat” for Mathayom Suksa 4 students in Nong Waeng Wittaya school Under the Secondary Educational service area office 23
ผู้แต่ง
กนิษฐา ทรัพย์ประเสริฐ, พจมาน ชำนาญกิจ
Author
Kanittha Sapprasoet, Potchaman Chamnankit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1)  พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนหนองแวงวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนโดยหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  และ  3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียน  หลังเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนหนองแวงวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนหนองแวงวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2555  จำนวน  30  คน  และการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One -Group Pretest Posttest Design

การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ  4) การประเมินและปรับปรุงหลักสูตร  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร  แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบวัดเจตคติสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test

ผลการวิจัย พบว่า

1.  ประสิทธิภาพของหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ 88.50/89.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 80/80

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนหนองแวงวิทยา  ที่ได้เรียนรู้โดยหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ  .01

3.  เจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนหนองแวงวิทยา  ที่ได้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ไทโย้ยวานรนิวาส  ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of this study were to  1)  develop the supplementary school curriculum  entitled “Thai Yoi of Wanon Niwat” for  Mathayom Suksa 4 at  Nong Waeng Witthaya School under the Office of the Secondary Educational Service  Area 23  to meet the standard efficiency set at 80/80,  2)  compare the students’ learning  achievements between before and after being taught by the supplementary school curriculum  entitled “Thai Yoi of Wanon Niwat” for Mathayom Suksa 4  s at  Nong Waeng Witthaya School,  and 3) investigate the students’ attitudes after being taught by the developed supplementary school curriculum in  the title of  “Thai Yoi of Wanon Niwat”  for Mathayom Suksa 4 at Nong Waeng Witthaya School.  The samples consisted of 30 Mathayom Suksa 4 students in the second  semester of academic year 2012 at  Nong Waeng Witthaya School under the Office of the Secondary Educational Service  Area 23.  One Group Pretest Posttest  Design was used.

The research procedure proceeded under the concept of the curriculum development procedure included: 1) study of curriculum foundation, 2) curriculum Construction, 3) curriculum implementation, and 4) curriculum evaluation and improvement.  The instruments used in this study were: 1) curriculum and documents supplemented, 2) lesson plans  based on the supplementary school curriculum entitled “Thai Yoi of Wanon Niwat”, 3) a test for measuring learning achievements, and 4) a form of attitude measurement. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation,  efficiency  (E1 / E2) and t-test (Dependent Samples).        

The findings of this study were:

1.  The efficiency of the supplementary school curriculum developed in the title of “Thai Yoi of Wanon Niwat” for  Mathayom Suksa 4 at  Nong Waeng Witthaya School under the Office of the Secondary Educational ServiceArea 23 was  88.50/89.17 which was higher than the criterion set at the beginning. 

2.  The posttest average score of Mathayom Suksa 4 students in Nong Waeng Witthaya School  under the Office of the Secondary Educational Service Area 23 who were taught through the developed supplementary school curriculum  entitled “Thai Yoi of Wanon Niwat” was higher than that of their pre-test at the .01 level of  significance.

3.  The learning attitudes of Mathayom Suksa 4 students at Nong Waeng Witthaya School under the Office of the Secondary Educational ServiceArea 23 taught through the developed supplementary school curriculum entitled “Thai Yoi of Wanon Niwat” were at the highest level.

คำสำคัญ

หลักสูตรสถานศึกษา, ไทยโย้ยวานรนิวาส

Keyword

School Curriculum, Thai Yoi Wanon Niwat
ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 52

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 1,365

จำนวนครั้งการเข้าชม: 969,354

สำนักงานสาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

อาคารบัณฑิตวิทยาลัย ชั้น 3 เลขที 680 หมู่ที่ 11 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000 โทรศัพท์/ โทรสาร 0-4297-0033

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: รองศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวศิวาภรณ์ เก่งสุวรรณ์

โทร: 0-4297-0033